23 - 27 กุมภาพันธ์ 2555 เที่ยว...
ReadyPlanet.com


23 - 27 กุมภาพันธ์ 2555 เที่ยวเมืองศิลปิน ดนตรี กวี และศิลปะ (กัลกัตตา - ศานตินิเกตัน)
avatar
ตาล


user image

23 - 27 กุมภาพันธ์ 2555

กัลกัตตา - ศานตินิเกตัน

เที่ยวเมืองศิลปิน ดนตรี กวี และศิลปะ

 

ก่อนจะเรียนจบจากวิศวะภารตี เมือง ศานตินิเกตัน ลูกค้าเจ้าเก่าพี่สาวคนสวยเคยเกริ่นไว้ว่า... พาไปเที่ยวมหาวิทยาลัยที่เรียนบ้างสิ ทริปนี้จึงเกิดขึ้นมา

เรียนจบไปแล้วพักใหญ่กว่าเวลาจะเอื้ออำนวย เดินทางครั้งนี้เลยไม่ใช่แค่พาลูกค้าไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยและเมืองที่คุ้นเคย แต่ยังหมายถึงการเอาตัวเองกลับไปยังบ้านที่อยู่มานานกว่า 2 ปี

แบกเป้ใส่รองเท้าแล้วมาย้อนดูความหลังสวยๆ ของเส้นทางนี้กัน



ผู้ตั้งกระทู้ ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2012-07-09 14:33:25 IP : 27.130.20.195



ความคิดเห็นที่ 168 (1507888)
avatar
ตาล
image

ที่ศานตินิเกตัน การศึกษาระดับประถมและมัธยม ไม่ได้ถูกแยกออกไปจากอุดมศึกษา ทุก ๆ ระดับ ต่างเป็นไปภายใต้บรรยากาศเดียวกัน

ต่างแต่เพียงว่า ในระดับอุดมศึกษาการเรียนรู้จะแยกไปตามคณะที่เรียกกันว่า ภาวนา ที่แบ่งเป็นส่วน ๆ ของพื้นที่เพื่อให้เหมาะสมกับธรรมชาติของการเรียนรู้ในแต่สาขาวิชา

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:34:45 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 167 (1507885)
avatar
ตาล
image

 เหตุผลดีๆ ของการเรียนใต้ต้นไม้

1. นักเรียนได้เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศที่สวยงามตามฤดูกาลของธรรมชาติ และ 
 2. มีความเปิดเผยโปร่งใสให้ผู้อื่นได้ร่วมรับรู้ว่า ครูกำลังสอนอะไรและนักเรียนกำลังเรียนรู้อะไร

 เหตุผลทั้ง 2 ประการนี้สำคัญมากในคติแห่งการเรียนรู้แบบอินเดีย ข้อแรกทำให้เกิดการเรียนรู้ความเป็นจริง เป็นไปภายใต้ความสวยงามของธรรมชาติ ทำให้ความรู้เกี่ยวกับความจริงเกิดขึ้นด้วยความรู้สึกที่งดงาม เข้าใจกฎธรรมชาติ, แดด, ฝน, ลม, ใบไม้ผลิ, ใบไม้ร่วง

ความเปลี่ยนแปลงวงจรชีวิตที่เกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะ ย่อมเป็นสัญญาณให้รู้ว่า ความรู้เป็นสาธารณะและเป็นของสาธารณะ มิใช่เป็นของคนใดคนหนึ่งเป็นการจำเพาะ และความรู้ที่เป็นสาธารณะนี้ ย่อมจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อมนุษยชาติ มากกว่า ความรู้ที่เป็นสมบัติของปัจเจกบุคคล

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:33:12 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 166 (1507883)
avatar
ตาล
image

 การศึกษาเรียนรู้ภายใต้ร่มไม้นี้ ยังเป็นไปเหมือนเมื่อครั้งที่ท่านคุรุเทพยังมีชีวิตอยู่ ห้องเรียนจะเริ่มต้นตั้งแต่เช้าตรู่ของแต่ละวัน ยกเว้นวันพุธซึ่งเป็นวันหยุด

การเรียนรู้ในยามเช้านี้เป็นไปตามความเชื่อที่ว่า ยามเช้าเป็นช่วงที่จิตผ่องใสเบิกบาน เป็นสถานะที่เหมาะสมสำหรับการรับรู้ที่งดงาม และการเรียนรู้จะต้องเป็นไปด้วยจิตใจที่เบิกบาน การเรียน การร้องรำทำเพลง จึงเป็นไปด้วยกัน พร้อม ๆ กัน ภายใต้บรรยากาศที่โปร่งสบายด้วยธรรมชาติ ที่งดงามรอบ ๆ ตัวของผู้เรียน

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:31:45 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 165 (1507882)
avatar
ตาล
image

ณ ศานตินิเกตัน ภาพของครูที่ยืนอยู่ด้านหน้า มีนักเรียนระดับประถม, มัธยม นั่งล้อมเป็นรูปครึ่งวงกลมภายใต้ร่มไม้ที่ร่มรื่น

เสียงท่องบทเรียน เสียงร้องเพลงของนักเรียน ผสานกลมกลืนกับเสียงนก ที่อาศัยอยู่ในหมู่แมกไม้ เป็นภาพ เป็นเสียง ที่ผู้ไปเยี่ยมชมศานตินิเกตันในยามเช้าจะได้พบเห็นเป็นปกติ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:30:49 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 164 (1507881)
avatar
ตาล
image

คณะที่ตาลเรียนคือตึกนี้เลย เป็นสาขาวิชาของตาลโดยตรง วาดโดยศิลปินชื่อดังของอินเดีย K.G.

กาลภาวนาหรือสถาบันศิลปกรรมศาสตร์ (Institute of Fine Arts) แบ่งการศึกษาออกเป็น 5 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาจิตรกรรม
2. สาขาวิชาประติมากรรม
3. สาขาวิชาภาพพิมพ์
4. สาขาวิชาออกแบบ (Textile) - ตาลอยู่ภาควิชานี้ค่ะ
5. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์

คนโดยทั่วไปไม่ออกเสียงว่าภาวนาแต่จะออกเสียงกันว่า "บาวัน" ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:29:41 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 163 (1507879)
avatar
ตาล
image

คณะที่มีทั้งหมดในปัจจุบันนี้

1. วิทยาภาวนา (Vidya-Bhavana)
2. ศึกษาภาวนา (Siksha-Bhavana)
3. กาลภาวนา (Kala-Bhavana)
4. ศังคีตภาวนา (Sangit-Bhavana)
5. รพินทรภาวนา (Rabindra-Bhavana)
6. วินัยภาวนา (Vinaya-Bhavana)
7. ผลิ-สังฆธนา วิภาค ภาวนา (Palli-Samqathana Vibhaga-Bhavana)
8. ผลิศึกษาภาวนา (Palli-Siksha-Bhavana)
9. บาทภาวนา (Patha-Bhavana)
10. ศึกษาศาสตร์ (Siksha-Satra)
11. อุตรศึกษาสาธนา (Uttar-Siksha Sudana)
12. ศึกษาจารจา (Siksha-Charcha) และ
13. ศูนย์ศึกษาวิจัยเศรษฐศาสตร์การเกษตร (Agro-Economic Research Centre)

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:27:01 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 162 (1507878)
avatar
ตาล
image

คำว่า ภาวนา ที่ท่านรพินทรนาถ ฐากูร เรียกนี้ช่างมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งนัก เพราะได้สื่อแสดงให้รู้ถึงวิถีแห่งการเรียนรู้แบบอินเดียโบราณ ที่เชื่อว่าความรู้อันแท้จริงจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการภาวนา

การภาวนาคือกระบวนการที่ทำให้สมอง (ความคิด) จิต (ความรู้สึก) และวิญญาณ (ความตระหนักรู้) ได้ผสานกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้เกิดพลังในการหยั่งถึงซึ่งความเป็นจริงที่เป็นสากล

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:25:52 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 161 (1507877)
avatar
ตาล
image

มาถึง ณ วันนี้วันที่พวกเราทุกคนเดินทางมาเยี่ยมวิศวภารตีที่ศานตินิเกตัน การศึกษาเรียนรู้ ณ ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้นี่ บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ยังมีเสน่ห์และมนต์ขลังยิ่งนัก


ในด้านวิชาการ วิศวภารตีได้แบ่งส่วนแห่งการศึกษาเรียนรู้ออกเป็นคณะ (Faculty) และสถาบัน (Institution) เหมือนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ของอินเดีย หากแต่ชื่อเรียกคณะหรือสถาบันนั้นยังเรียกเป็นภาษาอินเดียตามที่ท่านผู้ก่อตั้งเคยเรียกคือ ใช้คำว่า "ภาวนา" (Bhavana) แทนคำว่า คณะ (Faculty) หรือสถาบัน (Institution)

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:25:08 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 160 (1507876)
avatar
ตาล
image

ทั้งโดยสถานภาพทางกฎหมาย และโดยความรู้สึกสำนึกของประชาชน ทำให้วิศวภารตี ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการบริหารจัดการใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

ระบบการบริหารและระบบการศึกษาถูกรื้อปรับให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ใหม่ แต่ที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงคือ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของวิศวภารตี ที่ถูกกำหนดไว้โดยท่านรพินทรนาถ ฐากูร ผู้ก่อตั้ง

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:23:53 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 159 (1507874)
avatar
ตาล
image

สถานะความเป็นมหาวิทยาลัยที่ถูกตราขึ้นโดยกฎหมาย ทำให้สถานภาพของวิศวภารตี เปลี่ยนแปลงไปในสายตาของนักวิชาการและประชาชนทั่วไป นักวิชาการอินเดีย แม้ก่อนหน้านี้จะไม่ให้ความสำคัญต่อสถาบันการศึกษานี้มากนัก

แต่เมื่อวิศวภารตีมีสถานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของรัฐบาลอินเดีย และมีความสำคัญระดับชาติ ทำให้นักวิชาการต่างรู้สึกว่าสถาบันแห่งนี้เป็นสถาบันชั้นนำ และมีความเชื่อมั่นในบทบาทและภารกิจของสถาบันการศึกษาแห่งนี้

ในส่วนของประชาชนทั่วไปต่างก็มีความรู้สึกว่า วิศวภารตีเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่น่าภาคภูมิใจ และปรารถนาให้บุตรหลานของตนได้ไปศึกษาที่สถาบันการศึกษาแห่งนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:22:43 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 158 (1507873)
avatar
ตาล
image

 ในปี ค.ศ. 1951 วิศวภารตีได้ถูกประกาศให้เป็นมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐบาลกลาง (Central University) และมีสถานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งชาติ (An Institution of National Importance) ที่จัดเป็นประเภทมหาวิทยาลัยวิทยาเขตเดี่ยว ที่มีการเรียน การสอน และเป็นที่พักอาศัยอยู่ในที่เดียวกัน (A unitary, Teaching and residential University)

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:21:39 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 157 (1507872)
avatar
ตาล
image

ในปี ค.ศ. 1921 วิศวภารตีได้ถูกจัดตั้งเป็นสถาบันทางการศึกษาภายใต้เป้าหมายและวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้น และเป็นเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้ตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้


ด้วยความเป็นสถาบันการศึกษาที่แนบแน่นอยู่กับวิถีชีวิตของชุมชนและธรรมชาติ วิศวภารตีที่ศานตินิเกตันได้ประจักษ์ว่า การเรียนรู้ที่แท้จริงต้องเรียนรู้จากชุมชนและธรรมชาติ ด้วยความตระหนักเช่นนี้จึงทำให้เกิดวิศวภารตี ศรีนิเกตันขึ้นในปี ค.ศ. 1922

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:20:37 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 156 (1507871)
avatar
ตาล
image

 เพื่อที่จะให้เป้าหมายอันเป็นวัตถุประสงค์ทั้ง 4 ประการนี้ปรากฏเป็นจริง ศานตินิเกตัน จะเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาเรียนรู้ร่วมกันทั้งในทางด้านศานา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และศิลปของชาวฮินดู พุทธ เชน มุสลิม ซิกข์ คริสเตียน และอารยธรรมอื่น ๆ ณ ที่นี้จะเป็นพื้นที่แห่งการศึกษาค้นคว้าของชาวตะวันออก ที่พร้อมจะเรียนรู้วิถีของชาวตะวันตกในทุกแง่มุม ที่จำเป็นต่อการประจักษ์แจ้งแห่งจิตวิญญาณ และเป็นการสร้างสมานฉันท์ระหว่างนักคิดและนักวิชาการชาวตะวันตกและชาวตะวันออก โดยไม่มีพรมแดนของเชื้อชาติและสัญชาติมาเป็นเครื่องกีดกั้น

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:18:36 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 155 (1507870)
avatar
ตาล
image

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของวิศวภารตี ศานตินิเกตัน
        1. เพื่อศึกษาจิตของมนุษย์ในการประจักษ์แจ้งความเป็นจริงในแง่มุมต่าง ๆ จากหลากหลายมุมมอง

        2. เพื่อสร้างสายสัมพันธ์อันแนบแน่นต่อกันและกัน ระหว่างวัฒนธรรมของชาวตะวันออกที่งอกงามมาจากรากเหง้าอันเดียวกัน ผ่านการศึกษาอย่างจริงจังบนรากฐานของวัฒนธรรมนั้น ๆ

        3. เพื่อศึกษาเรียนรู้ตะวันตกจากรากฐานของวิถีชีวิต และแนวความคิดของชาวเอเชีย

        4. เพื่อแสวงหาสัจธรรม อันเป็นบทเรียนที่จะได้รับรู้ร่วมกันระหว่างชาวตะวันออกและชาวตะวันตก เพื่อที่ว่า ที่สุดแห่งบทเรียนนั้นคือความรู้รวมกันอันจะเป็นพลังหนุนส่งให้เกิดสันติภาพขึ้นบนโลกใบนี้ ด้วยวิธีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันอย่างอิสระ ของชาวโลกทั้ง 2 ซีก

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:17:42 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 154 (1507869)
avatar
ตาล
image

ในปี ค.ศ. 1917 ท่านรพินทรนาฎได้ประกาศเจตจำนงค์ของท่านในการจัดตั้งศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ของมนุษยชาติขึ้นที่ศานตินิเกตัน ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้นี้ ท่านไม่ปรารถนาจะเรียกว่า College หรือ University ตามคตินิยมที่ชาวอังกฤษเข้ามาสร้างไว้ แต่ท่านมหากวีมีความภูมิใจที่จะเรียกศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้นี้ว่า "วิศวภารตี"พร้อม ๆ กับการประกาศเจตนารมณ์แห่งการจัดตั้ง วิศวภารตี ท่านมหากวีได้กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของวิศวภารตีไว้ดังนี้
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:16:57 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 153 (1507864)
avatar
ตาล
image

ในปี ค.ศ. 1916 หลังจากเดินทางกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น ท่านมหากวี ได้ปรารภที่จะสร้างศานตินิเกตันให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ของประชาชนซีกโลกตะวันออก โดยไม่มีพรหมแดนของรัฐ หรือวัฒนธรรมมาเป็นอุปสรรคขวางกั้น ศานตินิเกตันควรที่จะเป็นศูนย์รวม ที่วัฒนธรรมแห่งตะวันออก จะได้ไหลมารวมกันเพื่อให้อนุชนได้ร่วมกันเรียนรู้และสัมผัสได้ซึ่งคุณค่า แห่งมรดกทางวัฒนธรรมตะวันออก

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 10:57:52 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 152 (1507863)
avatar
ตาล
image

ภายหลังจากที่ท่านรพินทรนาถ ฐากูร ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ. 1913 ชื่อเสียงของท่านได้แพร่ขยายออกไปเป็นที่รู้จักกันทั้งในและนอกประเทศอินเดีย ท่านได้เดินทางไปประเทศต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะการเดินทางไปในประเทศเอเชีย เช่น ประเทศญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งประเทศไทย

การเดินทางไปในสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันนั้น ท่านมหากวีได้สัมผัสกับความงดงามแห่งวิถีชีวิตในวัฒนธรรมที่ได้สร้างสมถ่ายทอดสืบต่อกันมา จนกลายมาเป็นมรดกที่ประมาณค่ามิได้ เป็นมรดกที่ควรจะได้ส่งมอบต่อ ๆ กันไป

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 10:57:01 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 151 (1507862)
avatar
ตาล
image

สถานที่แห่งนี้ จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ภายใต้ร่มไม้ที่มีนักเรียน 5 คน นั่งล้อมรอบครู การเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ก็เริ่มขึ้น นี่มิใช่การเรียนรู้ของเด็กนักเรียน 5 คนกับครู 1 คน แต่นี่เป็นการเรียนรู้ที่ผลิดอก ออกผลมาเป็นวิศวภารตี สถาบันอุดมศึกษาที่สำคัญยิ่งของอินเดียในยุคปัจจุบัน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 10:56:04 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 150 (1507858)
avatar
ตาล
image

ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่มหาวิทยาลัยไร้รั้ว วิศวะภารตี เมือง ศานตินิเกตัน คนส่วนใหญ่ก็รู้จักกันแค่ ศานติๆ

มหาวิทยาลัยที่ถูกก่อตั้งโดยท่านรพิทรนาฎ ตะกอร์ (ฐากูร)

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 10:48:25 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 149 (1507857)
avatar
ตาล
image

วันที่ 4 ศานตินิเกตัน

วันนี้พาทุกคนเข้าไปดูมหาวิทยาลัยของตาลกัน หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่พาทุกคนมาที่นี่

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 10:45:28 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 148 (1507856)
avatar
ตาล
โอ้ว.... มหัศจรรย์ ตื่นเต้นคอมเม้นท์ข้างบน สุดๆ ฮ่าๆๆๆๆๆ
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 10:43:10 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 147 (1507735)
avatar
ลูกสาวเจ้่าพ่อ
เลือกที่จะไปทริปนี้เพราะเพื่อน(ฝน)จุดประกายถึงแม้ไม่รู้จักเมืองศานตินิเกตันแต่ก้อจะไปจุดประสงค์หลักคือการช้อปปิ้งบวกกับมั่นใจในฝีมือไกด์ที่เคยร่ำเคยเรียนอยู่ที่อินเดีย(ศานติ)มาหลายปีเธอคงจะมีความชำนาญในการบรรยายและนำทาง(ไม่แน่ใจ)ทริปนี้ขอบอกว่าสนุกมากได้เดินลัดเลาะไปตามถนนเล็กๆในเมือง(อดนั่งtaxi-ไม่รู้ทำไม)เห็นความเป็นอยู่ของคนเมืองถึงแม้เราจะเมื่อยเหงื่อจะแตกก้อต้องรีบเดินตามไกด์เดี๋ยวหลงแต่พอถึงตอนไกด์บรรยายก้อไม่ผิดหวังค่ะความรู้แกแน่นมากแบบไม่น่าเชื่อ*ที่ศานติเราไม่ต้องเดินตามถนนแต่ต้องปล่อยใจให้ไหลลื่นไปกับบรรยากาศติสส์ๆของพวกศิลปิน-มันแปลกแต่มีเสน่ห์มากจนถึงมากที่สุด ไม่เคยคาดหวังอะไรกับการไปอินเดียสักครั้ง(แต่ก้อไปมาถึง3ครั้งแล้ว)ขอบอกคุณๆที่คิดจะไปเีที่ยวไม่ว่าเมืองใดก้อตามในอินเดียว่าอย่าได้ลังเลโดยเฉพาะกับการเดินทางไปกับวันแรมทางเพราะถ้าคุณไปแล้วคุณจะไม่คิดเลยว่าคุณเป็นลูกค้าแต่คุณจะได้เพื่อนกลับมาอีกเพียบเลย
ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกสาวเจ้่าพ่อ วันที่ตอบ 2012-07-10 23:04:19 IP : 124.120.45.169


ความคิดเห็นที่ 146 (1507638)
avatar
ตาล
image

พรุ่งนี้เช้าเรามีนัดกัน
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-10 16:27:25 IP : 27.130.20.195


ความคิดเห็นที่ 145 (1507637)
avatar
ตาล
image

ไปหาซื้อของกินที่ตลาดซุบซิบของชาวศานตินิเกตัน...ลัตตันปาลี อยากกินอะไรก็เลือกเอาเสร็จแล้วกลับบ้านเรากัน
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-10 16:25:21 IP : 27.130.20.195


ความคิดเห็นที่ 144 (1507634)
avatar
ตาล
image

คืนนีมีปาร์ตี้ส่วนตัวที่บ้านพักรูปภาพไม่สามารถนำมาเผยแแพร่แก่สาธารณะชนได้ อยากรู้ว่าเป็นยังไงทริปหน้าต้องไปกับวันแรมทาง
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-10 16:19:39 IP : 27.130.20.195


ความคิดเห็นที่ 143 (1507633)
avatar
ตาล
image

ซื้อของเสร็จแล้วแยกย้ายกันกลับบ้านเดินตัดทุ่งนาออกสู่ถนนใหญ่
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-10 16:18:00 IP : 27.130.20.195


ความคิดเห็นที่ 142 (1507632)
avatar
ตาล
image

เดินกันตั้งแต่เย็นจนพระอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้า
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-10 16:17:07 IP : 27.130.20.195


ความคิดเห็นที่ 141 (1507630)
avatar
ตาล
image

ค่าเช่าที่ถูกมากเีพียงวันละ1รูปีต่อร้านข้อกำหนดมีว่าต้องเป็นของที่ไม่ทำร้ายธรรมชาติและห้ามใช้ถุงพลาสติกแก้วพลาสติกในบริเวณตลาด ใครจะมาเดินตลาดนี้กรุณาพกถุงผ้ามาใส่ของกลับด้วย(สำหรับลูกค้าวันแรมทางเราขอแนะนำให้พกกระสอบเพราะซื้อกันทีตลาดเรียบเลย)
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-10 16:15:55 IP : 27.130.20.195


ความคิดเห็นที่ 140 (1507628)
avatar
ตาล
image

คนต่างชาตินั่งคุยอยู่กับแม่ค้าร้านนี้ขายงานเซรามิครู้สึกว่าจะส่งไปขายหลายประเทศทั่วโลก
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-10 16:11:48 IP : 27.130.20.195


ความคิดเห็นที่ 139 (1507594)
avatar
ตาล
image

เมืองนี้เจริญมากในแง่ของการดำเนินวิถีชีวิต สังเกตได้จากที่คนขายของจำนวนมากเป็นผู้หญิงต่างจากเมืองอื่น ศานตินิเกตันรับแง่คิดสมัยใหม่ๆ ภายใต้บ้านเมืองแบบธรรมชาติ

ผู้หญิงที่นี่มีสิทธิ์เท่าเทียมพอกับผู้ชาย สามารถเรียนหนังสือ ขับรถ ค้าขาย และประกอบอาชีพได้เหมือนๆกัน 

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-10 13:48:54 IP : 27.130.20.195





Copyright © 2007-2037 สงวนลิขสิทธิ์ภาพและบทความที่จัดทำขึ้นโดยเว็บไซต์ ห้ามลอกโดยเด็ดขาด