23 - 27 กุมภาพันธ์ 2555 เที่ยว...
ReadyPlanet.com


23 - 27 กุมภาพันธ์ 2555 เที่ยวเมืองศิลปิน ดนตรี กวี และศิลปะ (กัลกัตตา - ศานตินิเกตัน)
avatar
ตาล


user image

23 - 27 กุมภาพันธ์ 2555

กัลกัตตา - ศานตินิเกตัน

เที่ยวเมืองศิลปิน ดนตรี กวี และศิลปะ

 

ก่อนจะเรียนจบจากวิศวะภารตี เมือง ศานตินิเกตัน ลูกค้าเจ้าเก่าพี่สาวคนสวยเคยเกริ่นไว้ว่า... พาไปเที่ยวมหาวิทยาลัยที่เรียนบ้างสิ ทริปนี้จึงเกิดขึ้นมา

เรียนจบไปแล้วพักใหญ่กว่าเวลาจะเอื้ออำนวย เดินทางครั้งนี้เลยไม่ใช่แค่พาลูกค้าไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยและเมืองที่คุ้นเคย แต่ยังหมายถึงการเอาตัวเองกลับไปยังบ้านที่อยู่มานานกว่า 2 ปี

แบกเป้ใส่รองเท้าแล้วมาย้อนดูความหลังสวยๆ ของเส้นทางนี้กัน



ผู้ตั้งกระทู้ ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2012-07-09 14:33:25 IP : 27.130.20.195



ความคิดเห็นที่ 198 (2926410)
avatar
เกน
คิดถึงทริปนี้ที่สุด
ผู้แสดงความคิดเห็น เกน วันที่ตอบ 2012-11-29 00:50:20 IP : 58.8.196.190


ความคิดเห็นที่ 197 (1507937)
avatar
ตาล
image

ภาพบนไม่ใช่ผลงานของท่านตะกอร์นะคะ แต่เป็นฝาผนังแถวๆมหาวิทยาลัยค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 13:17:48 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 196 (1507935)
avatar
ตาล
image

รพินทรนาถ ฐากูร เป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจำปีพ.ศ.2456 จากกวีนิพนธ์ "คีตาญชลี" หลังจากได้รับรางวัล ท่านเดินทางไปหลายประเทศทั่วโลก เพื่อแสดงปาฐกถาทั้งในยุโรป อเมริกา อังกฤษ

รวมถึงประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 7 ระหว่างวันที่ 8-18 ตุลาคม พ.ศ.2470 โดยท่านแสดงปาฐกถาถวายหน้าพระที่นั่งในวันที่ 13 ตุลาคมของปีนั้น ถือเป็นอีกหมุดหมายสำคัญในความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ประเทศ

นอกจากผลงานวรรณกรรมอันลือเลื่องแล้ว ยังเป็นจิตรกรวาดภาพ แม้จะเริ่มมาสนใจอย่างจริงจังตอนอายุ 63 ปีแล้วก็ตาม โดยได้แรงบันดาลใจในช่วงพักอยู่ที่กรุงบูเอโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ระหว่างเดินทางเยือนประเทศละตินอเมริกาเมื่อพ.ศ.2467 แล้วเจ้าของบ้านที่ท่านพักอาศัยอยู่ชื่นชมภาพเขียนและลายเส้นที่แทรกอยู่ระหว่างวรรคตอนของบทกวี

จนกระทั่งมาวาดรูปอย่างจริงจังตั้งแต่พ.ศ.2471 เป็นต้นมา ตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต


ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 13:16:34 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 195 (1507925)
avatar
ตาล
image

รพินทรนาถ ออกเดินทางไปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2455 เพื่อการพักผ่อนและรักษาตัวเนื่องจากสุขภาพทรุดโทรมอย่างหนัก ขณะนั้นมีอายุได้ 50 ปีแล้ว แต่ความทรงจำเกี่ยวกับปฐมวัยยังแจ่มชัด เหมือนแลเห็นภาพเขียนของจิตรกรซึ่งประดับไว้เบื้องหน้า ในระหว่างทางเขาจึงลงมือบันทึกความคลี่คลายของชีวิตโดยมีลำดับดังนี้

การศึกษาขั้นต้นของรพินทรนาถเริ่มขึ้นที่บ้าน พร้อมกับเด็กผู้ชายซึ่งเป็นญาติกันอีกสองคน โดยจ้างครูพิเศษมาสอน ต่อมา สัตยา ลูกของพี่สาวซึ่งมีอายุแก่กว่าสองปีถูกส่งไปโรงเรียน ตกบ่ายกลับมาเล่าอะไรต่ออะไรให้ฟังอย่างสนุกสนาน ด้วยเหตุที่รพินทรนาถไม่เคยนั่งรถม้า หรือแม้แต่ออกนอกบริเวณบ้าน รุ่งขึ้นจึงร้องไห้ตาม ครูพยายามปลอบก็แล้วขู่ก็แล้ว แต่ไม่เงียบ เลยตบเข้าให้ฉาดพร้อมทั้งพูดว่า “เดี๋ยวนี้เธอร้องไห้จะไปโรงเรียน แต่วันข้างหน้าเถอะจะร้องยิ่งกว่านี้เพราะอยากลาออก”

ขณะเขียนบันทึกเขาจำชื่อครู รูปร่าง ตลอดจนนิสัยใจคอของครูไม่ได้แล้ว แต่ความประทับใจต่อคำพูดนั้นยังไม่จาง มันช่างเป็นคำพยากรณ์ที่แม่นยำที่สุด ตลอดชีวิตไม่เคยได้ยินคำพยากรณ์ซึ่งตรงต่อความเป็นจริงเช่นนั้นเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:41:33 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 194 (1507923)
avatar
ตาล
image

ตะกอร์มีอายุขัยที่ 80 ปี 3 เดือน

เวลาเพียงเท่านี้ใช่ว่าจะนานนักหนาอะไรสำหรับการสร้างสรรค์ของคน ๆ หนึ่ง แต่เขาก็เขียนหนังสือไว้ไม่ต่ำกว่า 300,000 บรรทัด มีทั้งบทกวี เรื่องสั้น นวนิยาย อัตตชีวประวัติ และทรรศนวิจารณ์ ในขณะที่วรรณคดีเปรียบเทียบบันทึกว่า กวีมิลตัน เขียนคำประพันธ์ไว้ไม่เกิน 18,000 บรรทัด

นอกจากนั้นยังแต่งเพลงไว้เป็นจำนวนพัน กระทั่งวงการศิลปะของอินเดียต้องแยกประเภทไว้ต่างหาก ในนาม “รพินทรสังคีต” ซึ่งใช้ศึกษากันถึงระดับปริญญาและยังมีงานจิตรกรรมอันเคยแสดง ณ GALERIE PIGALLE แห่งกรุงปารีส จำนวน 125 ชิ้น 

นักเขียนผู้นี้แหละคือเจ้าของบทนิพนธ์เรื่อง “จันทร์เสี้ยว” แต่ด้วยข้อจำกัดทางภาษา เราต้องอ่านจากสำนวนแปลซึ่งไม่ใช่เรื่องสะดวกสบายเลย จิตติน ธรรมชาติ ก็เคยสาธกข้อยุ่งยากทั้งฝ่ายผู้แปลและฝ่ายผู้อ่านในความเรียงบทหนึ่งไว้อย่างละเอียดรอบด้าน

ภารกิจทางฝ่ายผู้แปลนั้น ประการหนึ่งเขาแนะนำว่า “...เราจำเป็นจะต้องรู้จักชีวประวัติของผู้ประพันธ์เป็นอย่างกว้างขวางที่สุด และล้ำลึกที่สุดเท่าที่พึงสอบค้นมาศึกษาได้ เพื่อที่ว่าการแปลถ่ายนั้น ๆ เราจะได้สามารถเข้าไปนั่งอยู่ในความคิดจิตใจของท่านผู้ประพันธ์อย่างถูกต้อง – หรืออย่างน้อยที่สุดก็ใกล้เคียงกับความถูกต้อง”

ภารกิจทางฝ่ายผู้อ่านเล่า เขาก็ให้ข้อสังเกตไว้เช่นกันว่า “ชีวประวัติของผู้ประพันธ์ตามที่ระบุลงไว้ว่า เป็นความสำคัญอย่างหนึ่งของการแปลนวนิยายจากภาษาต่างประเทศนั้น ว่ากันที่จริงความสำคัญข้อนี้มิใช่แต่เพียงจะสำคัญสำหรับผู้แปลฝ่ายเดียว แต่ต้องนับว่าเป็นความสำคัญซึ่งถ้าหากผู้อ่านได้รับทราบไว้ด้วยพอสมควร ก็จะทำให้เกิดรสชาติในการอ่านสมบูรณ์ขึ้น”

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:36:21 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 193 (1507921)
avatar
ตาล
image

รพินทรนาถ เป็นนามซึ่งรู้จักกันในกลุ่มนักอ่านชาวตะวันตกว่า The Sun of India นั่นคือ ดวงอาทิตย์แห่งประเทศอินเดีย

ฐากูร (ฐากุร – ฐกฺกุร) ออกสำเนียงอย่างชาวตะวันตกว่า Tagore (ตะกอร์) หมายถึง “เทพเจ้า” ปัจจุบันเป็นสกุลหนึ่งของผู้สังกัดวรรณะพราหมณ์แห่งรัฐเบงกอล

มีสมัญญานามว่า "คุรุเทพ" เป็นนักปรัชญาพรหโมสมัช นักธรรมชาตินิยม และกวี เขาเริ่มเขียนบทกวีครั้งแรกตั้งแต่อายุเพียง 8 ปี ครั้นอายุได้ 16 ปี ก็ได้ตีพิมพ์เผยแพร่งานภายใต้นามปากกา ภาณุสิงโห และเริ่มเขียนเรื่องสั้นกับบทละครในปี พ.ศ. 2420 ในช่วงปลายของชีวิต รพินทรนาถต่อต้านการปกครองของรัฐบาลอังกฤษอย่างเปิดเผย และร่วมเคลื่อนไหวการประกาศเอกราชของประเทศอินเดีย ผลงานของเขาที่สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากงานกวีนิพนธ์ที่มีชื่อเสียง ยังมีสถาบันการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยวิศวภารตี เมืองศานตินิเกตัน

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:32:16 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 192 (1507920)
avatar
ตาล
image

รพินทรนาถ ฐากูร (ตะกอร์) เป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจำปีพ.ศ.2456 จากกวีนิพนธ์ "คีตาญชลี" หลังจากได้รับรางวัล ท่านเดินทางไปหลายประเทศทั่วโลก เพื่อแสดงปาฐกถาทั้งในยุโรป อเมริกา อังกฤษ

ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดของอินเดีย ร่วมในสมัยเดียวกันกับมหาตมะคานธี และ เยาวหราล เนรู

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:29:55 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 191 (1507919)
avatar
ตาล
image

บ้านตะกอร์......
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:19:17 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 190 (1507918)
avatar
ตาล
image

ถึงเวลาเที่ยวต่อจ้า
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:18:28 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 189 (1507917)
avatar
ตาล
image

และนี่คือศิลปินเจ้าของร้าน บาร์แมนด้า เป็นศิลปินจริงๆนะ เค้าจบเพ้นท์ติ้งจากมหาลัยทางศิลปะชื่อดังของอินเดียทั้งศานตินิเกตันและบาโรด้า ยามเศรษฐกิจเฟื่องฟู เฮียวาดรูปขายงานให้กับแกลอรี่ที่มุมไบ แต่ยามว่างมักจะกลับมาใช้ชีวิตเขียนงานสงบๆ อยู่ที่ศานตินิเกตัน

ใครกินร้านแกต้องรออาหารนานมาก เพราะแกต้องหาแรงบันดาลใจในการทำก่อน จากนั้นจึงบิ้วอารมณ์ แล้วค่อยบรรจงทำอาหารออกมา วันที่พาทุกคนไปกินคอยอาหารอยู่ประมาณสัก 3 ชม.ได้

เมนูแนะนำของร้านอีกอย่าง คือ น้ำมะนาวหอมหวานเย็นชื่นใจ และ ไม่ท้องเสีย เพราะเฮียทำน้ำแข็งด้วยตนเอง

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:17:33 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 188 (1507915)
avatar
ตาล
image

แต่ร้านนี้มีทีเด็ดอยู่ที่ "ลาซซี่" Lassi หรือโยเกิร์ตปั่นเอง เหมาะแก่การกินหน้าร้อน
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:09:56 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 187 (1507912)
avatar
ตาล
image

จานนี้ "โดซ่า" Dosa ไส้อะไรไม่รู้ จำไม่ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:08:16 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 186 (1507911)
avatar
ตาล
image

จานนี้ "อิ๊ดลี่" Idli
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:06:38 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 185 (1507910)
avatar
ตาล
image

โดซ่า เป็นอาหารชนิดหนึ่งของอินเดียใต้ เป็นแผ่นแป้งใหญ่ๆ บางกรอบ เหมือนเครปบ้านเรา ไส้ก็มีให้เลือกเป็นพวกมัน ไก่ ชีส เต้าหู้ แล้วแต่ร้าน เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มขาวๆ กับซุปถั่ว

ร้านที่ขายโดซ่าจะต้องขาย อิ๊ดลี่ ควบคู่ไปด้วย เป็นแป้งกลมๆ ขาวๆ นุ่ม กินกับน้ำจิ้มและซุปถั่วเช่นกันแต่ไม่มีไส้ อีกเมนูคือ อุตตระปัม เหมือนกับพิซซ่าญี่ปุ่น

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:06:02 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 184 (1507909)
avatar
ตาล
image

มื้อกลางวันพาทุกคนมาที่ร้านนี้ "โดซ่า" ของ เบอร์แมนด้า
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:01:18 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 183 (1507908)
avatar
ตาล
image

พี่เปิ้ลแอบเข้าไปนั่งจิบชา
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 12:00:31 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 182 (1507907)
avatar
ตาล
image

บรรยากาศโรงอาหารในคณะตาล ฝาผนังวาดโดยศิลปินเกาหลี
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:59:41 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 181 (1507906)
avatar
ตาล
image

เดี๋ยวพักไปกินข้าวกลางวันที่ร้านศิลปินสุดติสส์ของศานตินิเกตัน แล้วช่วงบ่ายเราค่อยไปบ้านของท่ารพินทรนาฎ ตะกอร์ กันค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:58:26 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 180 (1507905)
avatar
ตาล
image

แต่ที่เมืองไทยกลับไม่ใคร่จะมีข่าวนี้สักเท่าไร ผู้ที่รู้เรื่องส่วนมากมักเป็นผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการศิลปะ นักเขียน นักอ่าน กวี และนักปรัชญาทั้งหลาย น่าเศร้าใจจังค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:52:56 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 179 (1507904)
avatar
ตาล
image

แม้แต่ทางยูเนสโก หรือองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ยังถือโอกาส 150 ปี ชาตกาล รพินทรนาถ ฐากูร จัดเฉลิมฉลองไปทั่วโลกด้วย
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:51:04 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 178 (1507903)
avatar
ตาล
image

ช่วงที่เราไปเป็นปีที่ท่านรพินทรนาฏ ครบรอบ 150 ปี พอดีค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:50:07 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 177 (1507901)
avatar
ตาล
image

เช่นเดียวกับ ศ.สุชาติ เถาทอง ผู้ก่อตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และหอศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก ก็พูดในหนังสือเล่มนี้เช่นกันว่า ศานตินิเกตัน ให้โอกาสผู้เรียนได้ทำงานอย่างอิสระมาก อีกทั้งค่าเล่าเรียนก็ถือว่าถูกเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยทางศิลปะชื่อดังแห่งอื่น

จึงทำให้มีนักศึกษาจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมาศึกษาที่ศานตินิเกตัน ที่ซึ่งตะวันออกพบตะวันตก และธรรมชาติกับการเรียนการสอนอยู่ด้วยกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:48:57 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 176 (1507900)
avatar
ตาล
image

สำคัญมากนะคะสำหรับคนที่นี่ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องเป็นศิลปินกันทุกวัน โดยพยายามไม่สนใจว่าใครจะคิดยังไง วิถีศิลปินช่างยากยาวไกลและเหน็บหนาวเหลือเกิน
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:47:16 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 175 (1507898)
avatar
ตาล
image

เคยอ่านในสัมภาษณ์หนังสือ คุณธวัชชัยบอกว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้เปิดพื้นที่ให้ผู้เรียนได้พิจารณาตัวเอง โดยไม่มีการบังคับว่าจะต้องทำผลงานอะไรถึงจะสอบผ่าน

เพราะคติของที่นี่คือ "ถ้าคุณไม่ใช่ศิลปิน ก็จะไม่มีวันเป็นศิลปิน" เนื่องจากความเป็นศิลปินนั้นเป็นกันที่ข้างในของตัวเอง

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:45:35 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 174 (1507897)
avatar
ตาล
image

นอกจากนี้ อินทิรา คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของอินเดียก็เป็นศิษย์เก่าศานตินิเกตันเช่นกัน ยิ่งกว่านั้นศานตินิเกตันยังเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในอินเดียที่นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีอีกด้วย
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:44:04 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 173 (1507895)
avatar
ตาล
image

อาคารหอพักนักศึกษาชายของกลาบาวันแห่งนี้ อ.ถวัลย์ ดัชนี ก็เคยใช้ชีวิตที่นี่มาก่อน
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:43:08 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 172 (1507894)
avatar
ตาล
image

ธวัชชัย สมคง บรรณาธิการนิตยสารไฟน์ อาร์ต เคยถ่ายทอดว่า สถาบันแห่งนี้ได้สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพจนคว้ารางวัลสำคัญๆ ได้หลายท่าน

ทั้ง อำมาตย์ เซน นักเศรษฐ ศาสตร์ชื่อก้องที่ได้รับรางวัลโนเบลเช่นเดียวกับท่านฐากูร ส่วนศิลปินของไทยก็เช่น เฟื้อ หริพิทักษ์ ที่ได้รับรางวัลแม็กไซไซ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:41:57 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 171 (1507892)
avatar
ตาล
image

ศิลปินและบุคคลสำคัญชื่อดังมากมายทั้งไทยและต่างประเทศล้วนแต่เคยใช้ชีวิตอยู่ที่นี่
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:40:30 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 170 (1507890)
avatar
ตาล
image

ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงมาจาก....

วิศวภารตี - ศานตินิเกตัน : อุดมศึกษาที่ไร้กำแพง ของ ดร.ประมวล เพ็งจันทร์
นักวิชาการอิสระ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:37:56 IP : 27.130.95.149


ความคิดเห็นที่ 169 (1507889)
avatar
ตาล
image

วิศวภารตีที่ท่านคุรุเทพ รพินทรนาถ ฐากูร ได้สถาปนาไว้ ช่างมีความหมายแห่งตโปวนา ที่เป็นพื้นที่ขัดเกลาความหยาบกระด้างให้ลดน้อยลง แล้วเพิ่มพูนความนุ่มละมุนในจิตใจของผู้ได้เข้าไปสัมผัสกับสถานที่แห่งนี้ การได้ไปเยือนวิศวภารตีทำให้ได้ประจักษ์ว่า ความอ่อนโยน นุ่มนวลภายในจิตใจของท่านมหากวี ผู้รจนาคีตัญชลี ยังมีเหลืออยู่ในทุกอณูอากาศของวิศวภารตี


และนี่คือโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่ได้พาทุกคนมาสัมผัสกับบรรยากาศเช่นนี้ในยามที่สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งบนโลกใบนี้เต็มไปด้วยความอยาก ความปรารถนา อันเร่าร้อนและวุ่นวาย

การได้มาสัมผัสกับวิศวภารตี-ศานติเกตัน อาจทำให้ได้รู้ว่า ยังมีสถาบันอุดมศึกษาที่สงบเย็นตามความหมายแห่งชื่อว่า "ศานตินิเกตัน"

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (warm_mail27-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 11:36:01 IP : 27.130.95.149





Copyright © 2007-2037 สงวนลิขสิทธิ์ภาพและบทความที่จัดทำขึ้นโดยเว็บไซต์ ห้ามลอกโดยเด็ดขาด