อัพเดทข้อมูล 23/3/2566 |
|
|
 |
|
ทัวร์อินเดีย |
ลาดักห์-ซันสการ์-มะนาลี |
Our Journey Record : การเดินทางในเส้นทางนี้ ครั้งที่ 24 |
11-23 สิงหาคม 2566 |
13 วัน 10 คืน |
|
|
|
|
ราคา 4X,000 บาท
* ยังไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบิน
|
หมายเหตุ - ขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับราคาตามความเหมาะสม หากมีการเปลี่ยนแปลงของ ค่าธรรมเนียมน้ำมัน ภาษีสนามบิน และ อัตราแลกเปลี่ยน |
|
คำเตือน..ด้วยรักและห่วงใย |
ว่ากันว่า ที่นี่ คือ "สถานที่ที่สวรรค์กับโลกมนุษย์มาบรรจบกัน"
ถึงแม้ว่า เส้นทางนี้งดงามเกินบรรยาย ชนิดที่เรียกว่า ควรไปเห็นด้วยตาให้ได้สักครั้งในชีวิต ถึงแม้ว่า เสน่ห์ของทริปนี้ อยู่ที่วิวสองข้างทาง สวยงามจนหลับตาไม่ลง แต่ ทริปนี้ไม่ได้สะดวกสบาย ไปลำบาก นั่งรถเหนื่อยมาก อาหารพื้นเมืองไม่อร่อย กินกันไม่ค่อยได้ !
ด้วยเป็นพื้นที่ที่อยู่สูงเหนือจากระดับน้ำทะเลเกินกว่า 4,000 เมตร จึงสุ่มเสี่ยงต่ออาการแพ้ความสูง ทำให้ปวดหัว อาเจียน หายใจไม่ทัน หรือหัวใจวาย
|
ดังนั้น กรุณาอ่านโปรแกรมดีๆก่อนตัดสินใจจอง
ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง เช่น
เป็นโรคหัวใจ ความดันสูง หอบหืด ไม่ควรเดินทาง ..
หากชวนเพื่อนกรุณาบังคับให้เพื่อนอ่านด้วย
เพื่อนที่เรื่องเยอะ ห้ามชวน !
|
กรุณาอ่านรายละเอียด
อ่านเงื่อนไขราคา และ การชำระเงิน ให้เข้าใจก่อนจอง |
|
|
|
ใช้รถ Mahindra Scorpio *นั่งคันละ 4 คน |
นั่งสบาย นั่งรวมกับเพื่อนที่พักห้องเดียวกัน
เก็บกระเป๋าบนหลังคา |
เบาะหน้า ข้างคนขับ 1 คน
เบาะกลาง หลังคนขับ 2 คน
เบาะท้าย 1 คน |
 |
 |
 |
 |
รถที่เราใช้ตลอดการเดินทาง นั่งคันละ 4 คน |
เต็นท์ห้องน้ำของเรา ปวดฉี่จอดได้ทันที |
|
|
|
Road Trip เดินทางยาวๆ 13 วัน
ไปกันเรื่อยๆ สไตล์วันแรมทาง
เน้นความสุขใจ ในการออกไปท่องเที่ยว
เก็บบรรยากาศ ความงามของธรรมชาติด้วยสองตา
พร้อมเรื่องเล่า ถ่ายทอดเรื่องราว รู้ลึก รู้จริง
อิ่มเอมกับมิตรภาพ ของเพื่อนร่วมทาง
ปล่อยใจให้สบาย แค่ไว้ใจ แล้วไปด้วยกัน |
ปล. ทริปลำบาก ขอลูกทัวร์ อึด ถึก ทน สักนิด |
|
ทริปสำรวจเส้นทาง
Zanskar to Manali
ถนนที่เราไม่เคยไป |
|
LEH เมืองเลห์ (altitude 3500 metres) |
อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,500 เมตร เป็นเมืองหลวงของลาดักห์ คือดินแดนที่ซ่อนเร้นอยู่ท่ามกลางขุนเขา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเทือกเขาหิมาลัย เต็มไปด้วยภูเขาหิมะที่สูงกว่า 7,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล เทือกเขาสูงที่โอบล้อม ทำให้เลห์กลายเป็นดินแดนลี้ลับที่ยากแก่การเข้าถึง |
 |
 |
Shanti Stupa |
วิวยามพระอาทิตย์ตก มองจาก Shanti Stupa |
|
Shanti Stupa (altitude 3609 metres)
|
อยู่ห่างจากตัวเมืองเลห์ประมาณ 2 กิโลเมตร Shanti Stupa เป็นเจดีย์สันติภาพที่สร้างขึ้นโดยชาวญี่ปุ่น ที่นี่เป็นจุดชมวิวที่สามารถเห็นตัวเมืองเลห์ ได้อย่างชัดเจน แสงสีทองจับทิวเขาขณะอาทิตย์ลับขอบฟ้า สวยงามจับใจ |
|
Nimmu (altitude 3170 metres) |
เป็นจุดที่แม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำสินธุ (Indus River) และ แม่น้ำซันสการ์ (Zanskar River) ไหลมาบรรจบกัน |
|
Alchi Gompa (altitude 3100 metres) |
วัดอัลชิ เป็นวัดพุทธศาสนาแบบวัชรยานของทิเบต วัดเก่าแก่อายุราวหนึ่งพันปี สร้างโดย ล็อตซาวา ริงเซ็น ซังโป พระสงฆ์ชาวทิเบตที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น นักแปลผู้ยิ่งใหญ่ ด้วยผลงานการแปลพระไตรปิฎกจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาทิเบต ตลอดช่วงอายุของท่าน (พ.ศ. 1501-1598) ได้สร้างวัดไว้ในหุบเขาหิมาลัยมากถึง 108 วัด เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา วัดอัลชิเป็นหนึ่งในวัดที่ท่านสร้าง |
วัดเล็กๆในหมู่บ้านที่ดูเงียบสงบ วิหารของวัดนี้สร้างด้วยไม้ ผสมโครงสร้างที่เป็นอิฐและดินเหนียว ในรูปแบบดั้งเดิมของชาวลาดักห์ ภายในวิหารมีพระพุทธรูปดินปั้นเก่าแก่และงดงามมากประดิษฐานอยู่ มีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือจิตรกรชาวแคชเมียร์ วาดเรื่องราวของกษัตริย์และราชินีในยุคนั้นขณะดื่มเครื่องดื่ม สันนิษฐานว่าภาพวาดน่าจะถูกวาดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 1700 ด้านหลังวัดติดกับแม่น้ำสินธุ วิวสวยงาม ปัจจุบันวัดอัลชิ อยู่ภายใต้การดูแลของวัดลิครี (Likir Monastery) ในสายนิกายเกลุคปะ (หมวกเหลือง) |
|
Lamayuru (altitude 3510 metres) |
ด้วยทำเลที่ตั้งของลามายุรุนั้นเคยเป็นทะเลสาบมาก่อน ปัจจุบันท้องทะเลสาบแห้งสนิทเห็นชั้นดินที่ธารน้ำแข็งกัดเซาะเป็นร่องลึก มองเห็นเป็นชั้นๆสวยงามแปลกตา จนถูกขนานนามว่า Moon Land หรือ โลกพระจันทร์ |
|
Lamayuru Gompa (altitude 3370 metres) |
วัดลามายุรุ เป็นวัดพุทธศาสนาแบบวัชรยานของทิเบต ในสายนิกาย ดริคุงคากิว (หมวกแดง) เช่นเดียวกันกับวัดอัลชิ วัดนี้เก่าแก่อายุราวหนึ่งพันปี สร้างโดย ล็อตซาวา ริงเซ็น ซังโป เช่นกัน วิหารของวัดตั้งอยู่บนยอดเขาสูงแวดล้อมด้วยเทือกเขาขนาดใหญ่ ภายในวัดมีถ้ำเล็กๆซึ่งประดิษฐานรูปปั้น มหาสิทธานาโรปะ ตันตราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของพุทธวัชรยาน (มีอายุอยู่ในช่วงปีพ.ศ 1499-1584) ซึ่งเชื่อกันว่าท่านเคยมาปฏิบัติสมาธิภาวนาในถ้ำแห่งนี้ |
|
Fotula Top (altitude 4118 metres) |
จุดสูงสุดบนเส้นทาง เลห์-ศรีนากา จุดนี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 4,118 เมตร |
 |
 |
วิวสวยๆจาก Fotula Top |
Chamba Statue พระศรีอารยเมตไตรย์ บนผาหิน |
|
Chamba Statue |
พระพุทธรูปพระศรีอารยเมตไตรย์ แกะสลักอยู่บนภูเขาหิน จากรูปแบบของการแกะสลัก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 800 ปีก่อน โดยลูกศิษย์ของ ล็อตซาวา ริงเซ็น ซังโป พระสงฆ์ชาวทิเบตที่สร้างวัดไว้ในหุบเขาหิมาลัยมากถึง 108 วัด |
|
Suru Valley |
ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ แต่ที่นี่ยังคงมี พระพุทธรูปแกะสลักที่หน้าผา (Buddha Statue Khartse Khar) อายุนับพันปี ซ่อนเร้นอยู่ในหุบเขา ไม่ไกลจากหมู่บ้าน |
|
Rangdum Gompa (altitude 4031 metres) |
เป็นวัดพุทธศาสนาแบบวัชรยานของทิเบต ในสายนิกาย เกลุคปะ (หมวกเหลือง) ตามคำจารึก วัดแห่งนี้สร้างโดยกษัตริย์แห่งลาดักห์ แม้ว่าจะตั้งอยู่ในพื้นที่ Suru Valley ซึ่งเป็นชุมชนชาวมุสลิมในปัจจุบัน แต่ที่นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมซันสการ์ |
|
Pensi la Pass (altitude 4406 metres) |
จุดสูงสุดบนเส้นทางถนน การ์กิล - ซันสการ์ ที่ระดับความสูง 4406 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ตื่นตากับวิวของเทือกเขาหิมะสูงใหญ่ ธารน้ำแข็งดรันดรุง (Dran Drung Glacier) ที่ถูกเรียกว่าเป็น ประตูสู่ซันสการ์ เห็นธารน้ำแข็งนี้ แสดงว่าเราได้ เข้ามาสู่ หรือ กำลังออกจาก หุบเขาซันสการ์กันแล้ว |
|
|
|
Zanskar
the hidden Valley |
|
Padum (altitude 3669 metres) |
|
พาดุม เมืองเล็กๆ แต่เป็นเมืองหลวงหรือเมืองหลัก และศูนย์กลางการบริหารของซันสการ์ ภายใต้เขตการปกครองของลาดักห์ ประเทศอินเดีย มีประชากรอาศัยอยู่ไม่กี่พันคน ปัจจุบันเริ่มมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น มีโรงแรม โฮมสเตย์ ที่ทำการไปรษณีย์ อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ และ ร้านอาหารหลายแห่งสำหรับนักท่องเที่ยว |
ชาวมอนเผ่าเคซา (Mons) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในหุบเขาซันสการ์ ชนเผ่านี้ที่เคยครองถิ่นฐานในแถบเทือกเขาหิมาลัยตะวันตกมาก่อน ชาวมอนเริ่มนับถือศาสนาพุทธตั้งแต่สมัยของ พระเจ้าพระเจ้ากนิษกะ แห่งแคว้นกุษาณะ ราวปี พ.ศ. 670-690 กล่าวกันว่าชาวมอนในยุคนั้นเป็นเผ่าพันธุ์อารยัน เนื่องจากลักษณะของพวกเขาไม่เหมือนกับชนเผ่าท้องถิ่นหรือชาวมองโกเลีย ชาวมอนเป็นที่รู้จักนับถือมากในเวลาต่อมา จากการที่พวกเขาอุปถัมภ์การสร้างวัดวาอารามและสถูปเจดีย์ มากกว่า 30 แห่ง ทั่วทั้งหุบเขาซันสการ์ เช่น วัดคาซ่า วัดซานิ วัดพุคตาล และวัดอื่นๆอีกมากมาย |
|
|
Fakmo Ling Nunnery |
|
 |
|
สำนักชีแห่งนี้ มีแม่ชีอาศัยอยู่ที่นี่ไม่ถึง 20 คน ทางเดินขึ้นไปที่ สำนักชี เหนือหมู่บ้านเป็นทางแคบๆ ที่คดเคี้ยวระหว่างทุ่งนาและลำธารเล็กๆที่ไหลเชี่ยวกราก ภูมิประเทศเกือบจะไม่มีต้นไม้ ชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม เห็นลำแสงสีชมพูและสีทองที่ส่องกระทบกับภูเขา |
|
Karsha Gompa |
|
วัดคาร์ซ่า เป็นวัดพุทธศาสนาแบบวัชรยานของทิเบต ในสายนิกาย เกลุคปะ (หมวกเหลือง) มีพระสงฆ์มากกว่า 100 รูป เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในหุบเขาซันสการ์ สร้างอยู่บนภูเขา ริมแม่น้ำโดดา สร้างไต่ระดับขึ้นไปบนเทือกเขาสูง จะขึ้นไปบนวัดต้องออกแรงเดินกันจนเหนื่อย |
วัดสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 15 โดย ล็อตซาวา ริงเซ็น ซังโป พระสงฆ์ชาวทิเบตที่้สร้างวัดไว้ในหุบเขาหิมาลัยมากถึง 108 วัด เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่ คุรุปัทมสมภพ (คุรุ รินโปเช) พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนาแบบวัชรยาน ภายในวัดมีหินแกะสลักโบราณอยู่หลายจุด ห้องที่เก่าแก่ที่สุดที่เหลืออยู่ของวัด คือห้องของพระอวโลติเกศวร ที่มีภาพวาดฝาผนังตั้งแต่ครั้งเริ่มสร้างวัด |
|
Stongde Gompa |
|
วัดสต็องเด วัดมีจุดชมวิวมุมสูงของซันสการ์ ที่สวยที่สุดอีกแห่งหนึ่ง |
เป็นวัดพุทธศาสนาแบบวัชรยานของทิเบตที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ตั้งอยู่บนภูเขาสูงห่างออกไปจากเมืองพาดุม ประมาณ 18 กิโลเมตร สร้างในปี พ.ศ. 1595 โดย มาร์ปะ ล็อตซาวา (Marpa Lotsawa) ลูกศิษย์ของ มหาสิทธานาโรปะ ตันตราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของพุทธวัชรยาน แต่เดิมเป็นวัดพุทธศาสนาแบบวัชรยานของทิเบต ในสายนิกาย ดริคุงคากิว (หมวกแดง) |
400 ปีต่อมา วัดได้รับการดูแลโดยสายนิกายเกลุคปะ (หมวกเหลือง) มีการบูรณะก่อสร้างเพิ่มเติมเพื่ออุทิศถวายให้แก่ ท่านซงคาปะ (Tsongkhapa) พระสงฆ์ผู้ก่อตั้งสายนิกายเกลุคปะ ปัจจุบันเป็นวัดที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ในหุบเขาซันสการ์ มีพระสงฆ์อยู่ประมาณ 60 รูป |
|
Zangla Palace |
|
หมู่บ้านซังลา ในปัจจุบันไม่มีวัด มีแต่สำนักชี ที่นี่เคยเป็นที่ตั้งของ พระราชวังซังลา เมืองหลวงเก่าของซันสการ์ บางครั้งถูกเรียกว่า วัดซังลา ด้วยความเข้าใจผิด เพราะเห็นว่ามีพระสงฆ์มาอาศัยอยู่ที่นี่ เหนือหมู่บ้านขึ้นไปบนยอดเขา มีป้อมปราการชื่อว่า ป้อมซังลา (Zangla Fort) สันนิษฐานว่าสร้างราวๆพุทธศตวรรษที่ 16 |
|
Sani Gompa |
|
วัดซานิ อีกวัดสำคัญริมแม่น้ำสต็อด ประมาณ 6 กิโลเมตร จากเมืองพาดุม เป็นวัดพุทธศาสนาแบบวัชรยานของทิเบต ในสายนิกาย ดริคุงคากิว (หมวกแดง) เช่นเดียวกันกับวัดซงกุล เชื่อกันว่าที่นี่เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคลาดักห์และซันสการ์ |
ภายในวัดมี องค์พระสถูป ขนาดใหญ่ชื่อว่า สถูปกนิษกะ สร้างขึ้นในยุคสมัยของพระเจ้ากนิษกะ แห่งแคว้นกุษาณะ พระองค์ครองราชย์ในช่วงปี พ.ศ. 670-690 แคว้นกุษาณะมีพื้นที่ตั้งแต่ เอเชียกลาง คันธาระ ไปจนถึง ปาฏลีบุตร ในที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา การพิชิตดินแดนต่างๆและการอุปถัมภ์ศาสนาพุทธของพระองค์มีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาของเส้นทางสายไหมและการเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายาน จาก คันธาระ คาราโครัม ไปจนถึง ทิเบต และ จีน |
กล่าวกันว่า คุรุปัทมสมภพ (คุรุ รินโปเช) พระสงฆ์วัชราจารย์ผู้เทศนาและเผยแผ่ศาสนาพุทธวัชรยานในทิเบต ราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ได้เคยพำนักเป็นเวลาห้าปี ใน 'กัมช็อต ลากัง' ห้องขนาดเล็กที่อยู่ระหว่าง อาคารหลักและทางเดิน ทางด้านขวาของ สถูปกนิษกะ |
ถัดจาก สถูปกนิษกะ มีห้องเล็กๆมีรูปปั้นทองสัมฤทธิ์ของโยคีคลุมหน้าอยู่ เชื่อกันว่า มหาสิทธานาโรปะ ตันตราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของพุทธวัชรยาน เคยมานั่งสมาธิอยู่ที่นี่เช่นกัน |
|
Dzongkhul Gompa |
|
วัดซงกุล เป็นวัดพุทธศาสนาแบบวัชรยานของทิเบต ในสายนิกาย ดริคุงคากิว (หมวกแดง) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสต็อด ประวัติของวัดถูกเล่าย้อนกลับไปในสมัยของ มหาสิทธานาโรปะ ตันตราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของพุทธวัชรยาน (ช่วงปี พ.ศ 1499-1584) เชื่อว่าท่านเคยมานั่งสมาธิอยู่ภายในถ้ำ |
ในเวลาต่อมา จึงมีการสร้างวัดครอบถ้ำแห่งนี้ไว้ เพื่ออุทิศให้ มหาสิทธานาโรปะ ที่นี่ยังมีรอยเท้าของท่าน สามารถเห็นได้บนหินใกล้ทางเข้าถ้ำด้านล่าง ภายในวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอายุราว 300 ปี วาดโดย Zhadpa Dorje จิตรกรที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น |
|
Phuktal Gompa |
|
วัดพุคตาล เป็นวัดพุทธศาสนาแบบวัชรยานของทิเบต ในสายนิกาย เกลุคปะ (หมวกเหลือง) ตั้งอยู่ในหุบเขาลุงนัค (Lungnak Valley) อันห่างไกลทางตะวันออกเฉียงใต้ของซันสการ์ เป็นวัดแห่งเดียวในลาดักห์และซันสการ์ ที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดินเท้าเท่านั้น มีพระสงฆ์ประมาณ 70 รูป เสบียงสำหรับวัดจะนำขึ้นมาด้วยม้า ลา และ ล่อ ในเดือนที่อากาศอบอุ่น ในช่วงฤดูหนาวที่กลายเป็นน้ำแข็ง สิ่งของเหล่านี้จะถูกลำเลียงทางเลื่อน ส่งผ่านแม่น้ำซันสการ์ ที่กลายเป็นน้ำแข็ง |
สถานที่แห่งนี้มีถ้ำตามธรรมชาติ เมื่อประมาณ 2,550 ปีที่แล้ว เคยมี พระสงฆ์ นักแปลภาษาทิเบต นักปราชญ์ โยคี มหาสิทธา จำนวนมากมาย มาอาศัยอยู่ สถานที่ตั้งอันห่างไกลของถ้ำ เหมาะสำหรับพระสงฆ์ที่ต้องการความสงบและความสันโดษในการทำสมาธิ เชื่อกันว่าผู้ที่มาอาศัยอยู่ในถ้ำยุคแรกๆคือ พระอรหันต์ 16 รูป พระสาวกของพระพุทธเจ้า |
เวลาต่อมา มีการสร้างวัดขึ้นรอบๆถ้ำ สร้างริมหน้าผาคล้ายรังผึ้ง ภายในวัด มีวิหารหลัก ห้องสวดมนต์ ห้องสมุดที่มีข้อความศักดิ์สิทธิ์หายาก ห้องครัว รวมถึงถ้ำดั้งเดิมและน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ซึ่งได้รับการคุ้มครอง มีแผ่นหินที่เป็นการระลึกถึง Alexander Csoma de Koros นักภาษาศาสตร์ชาวฮังการี ผู้เชี่ยวชาญภาษาทิเบต ที่เคยมาพักอยู่ที่นี่ระหว่างที่เขามาสำรวจลาดักห์ เพื่อเขียน พจนานุกรมภาษาอังกฤษ-ทิเบต เล่มแรก ระหว่างปี ค.ศ. 1826-1827 |
|
Purne (altitude 3950 metres) |
หมู่บ้านพูเน่ จุดพักแรมของนักเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นนักเดินเขา หรือนักท่องเที่ยวอย่างพวกเรา ที่นี่มีที่พักแรมที่เป็นแคมป์ ห้องเป็นเต็นท์ กันลมกันหนาวได้พอประมาณ เป็นห้องน้ำรวม (ไม่มีห้องน้ำในห้องพัก) ไม่มีน้ำอุ่น ควรเตรียมถุงนอนส่วนตัวไปด้วย |
|
|
Gumbok Rangan (altitude at the base of the mountain is about 4,500 metres) |
จากหุบเขาซันสการ์ เดินทางลัดเลาะไปตามแม่น้ำ Kurgiak River ผ่านหมู่บ้าน Dangze Village หมู่บ้าน Kurgiakh Village จนไปถึงภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่เคารพของชาวซันสการ์ ชื่อภูเขา Gumbok Rangan ว่ากันว่าวิวที่นี่สวยตะลึง !! |
|
Shinkula Pass (altitude 5091 metres) |
จุดที่สูงที่สุดในเส้นทาง มะนาลี-ซันสการ์ ชื่อว่า Shinkula Pass ที่ระดับความสูง 5091 เมตร เป็นสัญลักษณ์ว่า เรากำลังเดินทาง เข้าสู่ หรือ ออกจาก หุบเขาซันสการ์ |
|
Jispa (altitude 3200 metres) |
|
เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำ Bhaga ที่สวยงามในเขต Lahual Spiti ของรัฐหิมาจัลประเทศ อยู่ท่ามกลางหุบเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ จึงทำให้มีทิวทัศน์ที่น่าตื่นตาตื่นใจอย่างน่าอัศจรรย์ หมู่บ้านนี้มีคนอยู่น้อยมาก เราจะพบว่ามีเจดีย์พุทธตั้งอยู่ประปราย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่แวะพักที่นี่หนึ่งหรือสองคืน เพื่อเพลิดเพลินและชื่นชมความงามของหมู่บ้าน |
|
Rohtang Pass (altitude 3978 metres) |
ถึงแม้ว่าจะมีถนนตัดใหม่ เจาะอุโมค์ลอดภูเขา ทำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น แต่พวกเราขอเลือกเส้นทางเดิมๆที่มีเสน่ห์และสวยงามกว่า เส้นทาง Rothang Pass ทางตอนเหนือของ มะนาลี เป็นช่วงที่เราสามารถมองเห็นความแปรผันของภูมิทัศน์ได้ดีที่สุด จากทิวทัศน์ที่งดงามของภูเขาหินโล้นและแห้งแล้ง ในดินแดนของลาดักห์-ซันสการ์ สู่ความเขียวชอุ่มของหุบเขา ทิวสน ธารน้ำแข็ง และแม่น้ำที่งดงาม |
|
Manali (altitude 2050 metres) |
เป็นเมืองในหุบเขา อยู่ในรัฐหิมาจัลประเทศของอินเดีย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของหุบเขา Kullu มีแม่น้ำ Beas ไหลผ่าน มะนาลีเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางการค้าโบราณผ่าน เมืองลาฮอล และลาดักห์ เหนือช่องแคบคาราโครัม และเข้าดินแดนของจีน มะนาลีเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในอินเดีย |
|
ราคาทัวร์ |
เดินทางขั้นต่ำ 6 คน |
รถ 2 คัน |
คนละ 4x,000 บาท |
เดินทาง 7-10 คน |
รถ 3 คัน |
คนละ 4x,000 บาท |
เดินทาง 11-16 คน |
รถ 4 คัน |
คนละ 4x,000 บาท |
|
*ราคานี้ ยังไม่รวม ค่าตั๋วเครื่องบิน
ทุกเส้นทางตามที่ระบุในโปรแกรม
จ่ายเพิ่มค่าตั๋วเครื่องบิน ประมาณ 2x,000 บาท++
จ่ายตามราคาจริง ณ วันที่จอง/วันที่ออกตั๋ว
จองเร็วได้ตั๋วถูก จองช้าได้ตั๋วแพง
หมายเหตุ - ขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับราคาตามความเหมาะสม หากมีการเปลี่ยนแปลงของ ค่าน้ำมัน และ อัตราแลกเปลี่ยน เนื่องด้วยความผันผวนของสถานการณ์โลก ในปัจจุบัน
|
|
ส่วนลด- (หักจากการจ่ายเงินงวดสุดท้าย)
มีวีซ่าอินเดียอยู่แล้ว หรือ ทำวีซ่าเอง ลดค่าวีซ่า 950 บาท
ราคานี้รวม-
ค่าวีซ่าอินเดีย *ประเภท e-Tourist VISA 30 Days
ยา Acetazolamide (Diamox) 250 mg มีสำหรับทุกท่าน
O2 ออกซิเจน ติดรถเป็นกองกลาง 1 แท็งค์ กรณีฉุกเฉิน
อาหารมื้อหลักทุกมื้อ รวม ชา กาแฟ ของหวาน และผลไม้
*ท่านใดไม่กินอาหารเย็น ไม่คืนค่าอาหาร
อาหารไทย ทัวร์ลีดเดอร์ ทำให้กินในบางมื้อ
น้ำดื่ม (น้ำเปล่าบรรจุขวด) ไม่จำกัดจำนวน
ที่พัก โรงแรม/แคมป์ ตามที่ระบุ พักห้องละ 2 คน
ค่ารถตลอดเส้นทาง
++ เส้นทาง เลห์-ซันสการ์-มะนาลี
ใช้รถ Mahindra Scorpio ไม่มีแอร์ นั่งคันละ 4 คน
++ เฉพาะเส้นทาง มะนาลี-จันดิการ์
ใช้รถตู้ Tempo Traveller ปรับอากาศ 12-14 ที่นั่ง
ค่าบัตรเข้าชมสถานที่ต่างๆ เฉพาะตามที่ระบุในโปรแกรม
ค่าบริการ หัวหน้าทัวร์คนไทย (ไม่รวมทิป)
ค่าบริการ ไกด์ชาวอินเดีย และคนขับรถ (ไม่รวมทิป)
ประกันการเดินทาง-
เงื่อนไข- ครอบคลุมภายใต้ข้อตกลงที่มีไว้กับบริษัทประกันชีวิต
ราคานี้ไม่รวม-
ค่าตั๋วเครื่องบิน สายการบินตามที่ระบุในโปรแกรม
ค่าธรรมเนียมน้ำมันและภาษีสนามบิน ไทย-อินเดีย
อาหารเช้า ที่สนามบินเดลลี วันแรกของการเดินทาง
อาหารค่ำ ที่สนามบินเดลลี วันสุดท้ายของการเดินทาง
ค่ากล้องถ่ายรูป และ ค่ากล้องวีดีโอ ซึ่งเรียกเก็บเป็นบางสถานที่
ค่าทิป escort หรือผู้ช่วยหัวหน้าทัวร์ ชาวอินเดีย
ค่าทิป หัวหน้าทัวร์คนไทย
ค่าทิป ทีมงานอินเดีย ไกด์ท้องถิ่น คนขับรถ
ค่าทิป ค่าทิป เด็กยกกระเป๋าที่โรงแรม
ค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาล / ค่ากักตัวที่ประเทศอินเดีย
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในรายการ
เงินทิป-
เด็กยกกระเป๋า ควรให้ไม่ต่ำกว่า 20 รูปี ต่อกระเป๋า 1 ใบ
ทีมงานอินเดีย (ไกด์ท้องถิ่น คนขับรถ)
เผื่อเงินไว้ประมาณ 4,400 รูปี หรือ 2,200 บาท
สำหรับ 11 วัน ในอินเดีย
(ให้ในวันสุดท้าย ของการเดินทาง)
หัวหน้าทัวร์คนไทย
เผื่อเงินไว้ประมาณ 1,200 บาท
สำหรับ 12 วัน หรือตามแต่พอใจ (ไม่บังคับ)
(ให้ในวันสุดท้าย ของการเดินทาง)
|
|
การชำระเงิน |
1) จ่ายมัดจำ 10,000 บาท ทันทีที่จอง
*ยึดมัดจำถ้าขอเลิกการเดินทาง
2) จ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน 2x,xxx บาท ทันทีที่จอง
*ถ้าขอยกเลิกการเดินทาง
คืน/ไม่คืนเงิน ตามเงื่อนไขของสายการบิน
(กรุณาสอบถามราคาก่อนจองทัวร์)
3) จ่ายส่วนที่เหลือ ภายในวันที่ 11 กรกฎาคม 2566
|
|
เงื่อนไขการให้บริการ |
จองล่วงหน้าตามช่วงเวลาที่กำหนด ชำระเงินตามเงื่อนไขข้างต้น
ขอยกเลิกการเดินทาง ยึดเงินมัดจำ และหักค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง และ/หรือ ขอยกเลิกการเดินทาง น้อยกว่า 30 วัน เก็บค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน
กรณีเกิดการระบาดของ โควิด-19 จนทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ ขอสงวนสิทธิ์ในการ เลื่อน/ยกเลิกการเดินทาง ตามแต่สถานการณ์เฉพาะหน้า หากจำเป็นต้องยกเลิกการเดินทาง จะคืนเงินเต็มจำนวน
เมื่อท่านออกเดินทางกับคณะแล้ว ถ้าท่านงดการใช้บริการรายการใดรายการหนึ่ง เช่น ไม่เที่ยวบางรายการ ไม่ทานอาหารบางมื้อ หรือไม่เดินทางพร้อมคณะ ถือว่าท่านสละสิทธิ์ ไม่อาจเรียกร้องค่าบริการและเงินมัดจำคืนได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น กรณีที่การตรวจคนเข้าเมืองทั้งที่กรุงเทพฯ และในต่างประเทศ ปฏิเสธมิให้เดินทางออกหรือเข้าประเทศในรายการเดินทาง หรือ กรณีความล่าช้าจากสายการบิน การประท้วง, การนัดหยุดงาน, การก่อจลาจล ทางเราขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนค่าบริการไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อท่านตกลงชำระเงิน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ถือว่าท่านได้ยอมรับเงื่อนไขข้อตกลงต่างๆ ที่ได้ระบุไว้แล้วทั้งหมด
กรณีติดโควิด-19 ระหว่างเดินทาง หรือในขณะที่อยู่ในประเทศอินเดีย เบื้องต้นจะรักษาตามอาการ ทั้งนี้ผู้ร่วมทางต้องดูแลตัวเอง หากมีอาการหนักจะนำส่งโรงพยาบาลที่อินเดีย เพื่อให้เข้ารับการรักษา หากต้องการเดินทางกลับประเทศไทยก่อนกำหนด สามารถทำได้โดยคิดค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง
|
|
|
 |
คลิก..เพื่อดูโปรแกรมการเดินทาง
หรือ ขอโปรแกรมได้ที่ คุณนุ้ย 0816928233
หรือ แจ้งทาง LINE ID : wanramtang3
|
|
|
|
|
ขั้นตอนง่ายๆในการจองทริปกับเรา |
|
1  |
2  |
3  |
4  |
คลิกเพื่อจองทริป |
คลิกตรวจรายชื่อ |
คลิกเพื่อโอนเงิน |
คลิกเพื่อส่งเอกสาร |
|
|
|
 |
 |
 |
 |
คำแนะนำ |
เตรียมของ |
ฝากแลกเงิน |
เรื่องอาการแพ้ที่สูง |
|
|
.. ประสบการณ์ 15 ปี พาเที่ยว Leh Ladakh .. |
|
|
 |
 |
 |
ep 1 - ปี 2550
26 กันยายน - 8 ตุลาคม
มะนาลี ลาดักห์ แคชเมียร์ |
ep 2 - ปี 2550
14-23 ตุลาคม
ลาดักห์ แคชเมียร์ ทัชมาฮาล |
ep 3 - ปี 2551
8-21 กรกฎาคม
มะนาลี ลาดักห์ แคชเมียร์ |
|
|
 |
 |
 |
ep 4 - ปี 2552
30 มิถุนายน - 12 กรกฎาคม
ลาดักห์ แคชเมียร์ ทัชมาฮาล |
ep 5 - ปี 2552
15 กันยายน - 2 ตุลาคม
มะนาลี ลาดักห์ ซันสการ์ แคชเมียร์ |
ep 6 - ปี 2552
10-19 ตุลาคม
ลาดักห์ แคชเมียร์ |
|
|
 |
 |
 |
ep 7 - ปี 2553
23 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม
มะนาลี ลาดักห์ แคชเมียร์ |
ep 8 - ปี 2553
21 สิงหาคม - 6 กันยายน
มะนาลี ลาดักห์ แคชเมียร์ |
ep 9 - ปี 2554
7-22 ตุลาคม
มะนาลี ลาดักห์ แคชเมียร์ |
|
|
 |
 |
 |
ep 10 - ปี 2555
27 มิถุนายน - 8 กรกฎาคม
มะนาลี ลาดักห์ แคชเมียร์ |
ep 11 - ปี 2556
7-22 กุมภาพันธ์
Chadar Trek แม่น้ำน้ำแข็งซันสการ์ |
ep 12 - ปี 2557
3-12 กรกฎาคม
แคชเมียร์ ลาดักห์ เทศกาลหน้ากาก |
|
|
 |
 |
 |
ep 13 - ปี 2557
1-12 สิงหาคม
แคชเมียร์ ซันสการ์ ลาดักห์ |
ep 14 - ปี 2557
15-24 กรกฎาคม
ลาดักห์ Stok Trekking |
ep 15 - ปี 2559
20 เมษายน - 1 พฤษภาคม
ดาฮานู เลห์ ลาดักห์ |
|
|
|
 |
 |
 |
ep 16 - ปี 2559
8-19 กรกฎาคม
เลห์ ลาดักห์ เทศกาลหน้ากาก |
ep 17 - ปี 2559
28 สิงหาคม - 10 กันยายน
มะนาลี เลห์ ลาดักห์ |
ep 18 - ปี 2561
7-17 ตุลาคม
แคชเมียร์ เลห์ ลาดักห์ |
|
|
 |
 |
 |
ep 19 - ปี 2562
5-13 เมษายน
Winter in Leh เลห์ ลาดักห์ |
ep 20 - ปี 2562
26 กรกฎาคม - 6 สิงหาคม
แคชเมียร์ เลห์ ลาดักห์ |
ep 21 - ปี 2565
16-30 พฤษภาคม
เลห์ มะนาลี ซิมลา |
|
|
 |
|
|
ep 22 - ปี 2565
3-14 กรกฎาคม
เลห์ ลาดักห์ เทศกาลหน้ากาก |
ep 23 - ปี 2566
21 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม
เลห์ ลาดักห์ เทศกาลหน้ากาก |
ep 24 - ปี 2566
13-26 สิงหาคม
ลาดักห์ ซันสการ์ |
|
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ |
ที่อยู่ |
 |
|
บ้านวันแรมทาง
1/60 ซ. อนามัยงามเจริญ 12 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ 10150
|
โทรศัพท์ |
024054561 |
มือถือ - ปลา |
0898119139 (AIS) |
มือถือ - นุ้ย |
0816928233 (DTAC) |
Email |
wanramtang@hotmail.com |
Line ID/โทรศัพท์ |
wanramtang3 / 0983023445 |
|
 |
วันทำงาน |
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-18.00 น.
|
วันเสาร์ เวลา 09.00-12.00 น. |
วันอาทิตย์ หยุดงาน งดการติดต่อทุกเรื่อง |
ถ้าไม่รับสายหรือโทรไม่ติด กรุณาติดต่อทาง Line |
|
|
|
หรือติดต่อผ่านระบบอัตโนมัติ ด้านล่างนี้ |
|