พุทธคยา
ReadyPlanet.com
dot dot
พุทธคยา
             
พุทธคยา
             
   แหล่งข้อมูล
 หนังสือ "สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล" พระเทพโพธิวิเทศ (ว.ป.วีรยุทโธ)
 วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
               
    พุทธคยา มรดกโลก โดย ยูเนสโก
 ประเทศอินเดีย ตำบลพุทธคยา อำเภอคยา จังหวัดมคธ 
    ประเภท- มรดกทางวัฒนธรรม
    จดทะเบียน- ปี พ.ศ. 2545
               
   พุทธคยา (บาลี: พุทฺธคยา, อังกฤษ: Bodh Gaya, Mahabodhi Temple, ฮินดี: बोधगया) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญในอำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่ง ของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู
               
   สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก
               
   ปัจจุบัน พุทธคยาเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลก และมีผู้แสวงบุญนับล้านคนไปนมัสการมหาพุทธสถานแห่งนี้ ในฐานะเป็นสังเวชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่สุดของชาวพุทธ สถานที่ ๆ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพระพุทธศาสนา สถานที่ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมมหาศาสดาของชาวพุทธทั้งมวล
               
   ที่ตั้งพุทธคยา
 ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร  (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์)พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา
               
   พุทธคยา มหาสังฆาราม
 ปัจจุบันคือ ตลาดพุทธคยา บริเวณที่ตั้งอยู่บนเนินสูงนั้น กล่าวกันว่าเป็นซากของมหาสังฆารามมาในครั้งโบราณ ที่เคยเป็นสำนักที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์ ถึง 1,000 รูป ตามความที่หลวงจีนเล่าไว้ว่า “พระสงฆ์เหล่านี้ใฝ่ใจในการศึกษา มีมารยาทงดงามตามพระวินัย ในวันหนึ่ง ๆ มีมหาชนทั่วทุกทิศมาชุมนุมเพื่อฟังคำสอนและบริจาคทานกันเป็นจำนวนมากพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทรุ่งเรืองบนแผ่นดินนี้ ถึงประมาณ ปี พ.ศ. 700 ก็อ่อนกำลังลง ดังที่พระพุทธโฆษณ์เล่าไว้ ท่านเป็นศิษย์ของพระเรวตะแห่งพุทธคยา มหาสังฆาราม เดินทางไปแปลคัมภีร์พระไตรปิฏกจากภาษาสิงหล กลับมาเป็นภาษามคธ ที่เกาะลังกา
 พุทธคยาอยู่ในเขตอิทธิพลของคยาเกษตรมาแต่เดิม ในคยาเกษตรมีสถานที่บูชาของพวกฮินดูที่มาถวายบิณฑ์ 16 แห่ง คือ ศิวะคะยา พรหมคะยา เปรตคะยา รามคะยา ยุธิษฐิรคะยา ภีระมะคะยา และพุทธะคะยา เป็นต้น ในคะยามหาตมยาเรียกพุทธคยาเป็นโพธคยา หรือธรรมารัณย์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ ที่นี้ คำว่าโพธคยา จึงเปลี่ยนมาเป็นพุทธคยา
 พุทธคยาในปัจจุบัน เป็นบุญสถานและที่ท่องเที่ยวอันมีชื่อของประเทศอินเดีย แม้ว่าชุมชนจะไม่ใหญ่โต แต่พอถึงฤดูกาลไหว้พระ ประมาณตุลาคม - มีนาคม จะมีนักแสวงบุญจากทั่วโลกจาริกมาที่นี่ โดยเฉพาะชาวธิเบต ภูฐาน จะลงจากภูเขามาปักหลักไหว้พระ  สวดมนต์ จุดไฟบูชาเหมือนกับว่าเป็นอาณาจักรของชาวพุทธธิเบตไปชั่วระยะหนึ่ง

               
   มหาเจดีย์พุทธคยา
 พระมหาเจดีย์มหาโพธิ์ สันนิษฐานกันว่าพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างขึ้นไว้ก่อนขนาดคงย่อมกว่านี้ แต่ด้วยแรงศรัทธาต่อพระพุทธองค์ จึงมีผู้มาต่อเติมเสริมสร้างและบูรณะปฏิสังขรกันต่อมาตามยุคสมัย เช่น ราว พ.ศ. 674 พระเจ้าหุวิชกะ กษัตริย์แคว้นมคธ ทรงช่วยสร้างเสริมให้เป็นศิลปะต้นแบบ เป็นสถูปใหญ่ของพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงแผ่ไปไกล หลวงจีนถังซัมจั๋ง เรียกว่า มหาโพธิ์วิหาร อันเป็นผลิตผลทางสถาปัตยกรรมของอินเดีย มหาวิหารหลังนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นโพธิ์ในปัจจุบัน
 
บริเวณมหาโพธิ์วิหารได้กลายเป็นที่สำคัญที่สุด เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์นี้ ประกอบกับที่นี้เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่คนโบราณนับถืออยู่แล้ว เท่ากับว่าบริเวณนี้เป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก
 
มหาชนทั้งหลายกล่าวกันว่า ที่ต้นโพธิ์ตรัสรู้แห่งนี้ เป็นสะดือของโลก หรือ ปัถวินาภิมณฑล เพราะเป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มาทรงตรัสรู้ที่นี้ทั้งนั้น และไม่มีสถานที่อื่นจะสามารถรองรับน้ำหนักของการตรัสรู้ได้ โพธิรุกขะ คือ ต้นโพธิ์นี้ย่อมถือว่าเป็นเสมือนขวัญใจของชาวพุทธทั่วโลก
 เมื่อพุทธศตวรรษที่ 13 หลวงจีนท่านได้บันทึกไว้ว่า “ทางตะวันออกของต้นโพธิ์นั้น มีวิหารสูงประมาณ 160-170 ฟุต กำแพงเบื้องล่างของวิหารด้านนอก สูงประมาณ 29 หรือกว่านั้น ตัวอาคารทำด้วยกระเบื้อง (อิฐ) สีฟ้า ทาทับด้วยปูนขาว ทุกห้องในชั้นต่าง ๆ บรรจุรูปที่ทำด้วยทองคำมากมาย ตัวตึกทั้ง 4 ด้าน ประดับประดาด้วยลวดลายอันมหัศจรรย์ รูปไข่มุกที่ร้อยเป็นสายประดับไว้ที่หนึ่ง”
 หลวงจีนยังได้บันทึกไว้อีกว่า “ตัวอาคารล้อมรอบด้วยทองแดงชุบ ประตูและหน้าต่างตกแต่งด้วยลวดลายอันวิจิตร ประดับด้วยทอง เงิน มุก และรัตนะต่าง ๆ ด้าน ขวาซ้ายประตูนอกเป็นซอกคล้าย ๆ ห้อง ด้านซ้ายมีรูปพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ด้านขวาเป็นรูปพระไมเตรยโพธิสัตว์ รูปเหล่านี้ทำด้วยเงินขาว สูง 60 ฟุต” คันนิ่งแฮม ถือว่า วิหารหลังปัจจุบัน แม้จะได้รับการซ่อมแซมและเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว ก็คือวิหารหลังเดียวกันกับที่นักจาริกแสวงบุญชาวจีนท่านนั้นได้พรรณนาไว้
 พระเจดีย์มหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยมีแท่นวัชรอาสน์อยู่ตรงกลาง สูงตามรูปทรงกรวย ประมาณ 170 ฟุต วัดรอบฐานได้ประมาณ 85 เมตรเศษ ตั้งอยู่บนอาคารรองรับ 2 ชั้น มีเจดีย์บริวารทั้ง 4 ด้าน รอบบริเวณ มีเสาหินทรายที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศก มีรั้วล้อมไว้อย่างแข็งแรง ปรากฏร่องรอยการบูรณะสืบต่อกันมาหลายยุคโดยเฉพาะสมัยพระสุเมธาธิบดี (ทตฺตสุทฺธิ) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ได้นำศรัทธาของพุทธบริษัทชาวไทย บูรณะเสาหินล้อมรอบพระเจดีย์ และห้องปฏิบัติสมาธิชั้นบนของพระเจดีย์ โดยมีพระราชโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูริปาโล) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พ.ศ. 2544 เป็นแม่กองงาน พร้อมทั้งติดโคมไฟที่สาดแสงส่องได้สูงถึงยอด
               
   การตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
 พระมหาบุรุษเสด็จขึ้นประทับบัลลังก์แก้ว ขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ตรงไปยังปราจีนทิศ หันพระปฤษฎางค์ (หลัง) ไปทางลำโพธิพฤกษ์ ก่อนที่จะทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรด้วยสมาธิจิต ได้ทรงตั้งสัตยาธิษฐานในพระทัยว่า “หากยังมิได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด แม้โลหิตจะมังสะจะเหือดแห้งไป เหลือแต่ ตจะ (หนัง) นหารุ (เอ็น) และอัฐ (กระดูก) ก็ตามที จะไม่เลิกละความเพียร โดยลุกไปจากที่นี้โดยเด็ดขาด”
 
ครั้งนั้น เทพยดาทั้งหลายพากันชื่นชมโสมนัส มีหัตถ์ทรงซึ่งเครื่องสักการบูชาบุปผามาลัยนานาประการต่างๆ พากันมาสโมสรสันนิบาตห้อมล้อมแซ่ร้องซ้องสาธุการบูชา พระมหาบุรุษ สุดที่จะประมาณ เต็มตลอดมงคลจักรวาลสุดจะพรรณนา
               
   พระพิชิตมาราธิราช
 ขณะนั้น พญาวัสวดีมาราธิราช ได้สดับเสียงเทพเจ้าบันลือเสียงสาธุการ ก็ทรงทราบชัดในพระทัยว่า พระมหาบุรุษจะทรงตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ทำลายบ่วงมารที่เราวางขึงรึงรัดไว้แล้วหลุดพ้นไปได้ก็น้อยใจ คิดริษยา เคียดแค้น ป่าวประกาศเรียกพลเสนามารมากกว่ามาก พร้อมด้วยสรรพาวุธที่ร้ายแรงเหลือที่จะประมาณ ประชุมกันเต็มทั่วท้องฟ้า พญาวัสวดีเสด็จขึ้นทรงช้างพระที่นั่งคีรีเมขล์ นิรมิตรมือพันมือถืออาวุธพร้อมสรรพ กรีฑาทัพอันแสนร้ายเหาะมาทางนภาลัยประเทศ เข้าล้อมเขตบัลลังก์ของพระมหาบุรุษเจ้าไว้อย่างแน่นหนา
 
ทันใดนั้นเอง บรรดาเทพเจ้าที่พากันมาห้อมล้อมถวายสักการบูชาสาธุการพระมหาบุรุษอยู่ เมื่อได้เห็นพญามารยกพหลพลขันธ์มาเป็นอันมาก ต่างมีความตระหนกตกใจกลัวอกสั่นขวัญหาย พากันหนีไปยังขอบจักรวาล ทิ้งพระมหาบุรุษเจ้าให้ต่อสู้หมู่พญามารแต่ลำพังพระองค์เดียว
 
เมื่อพระมหาบุรุษไม่ทรงแลเห็นใดใครที่ไหนจะช่วยได้ ก็ทรงระลึกถึงบารมีธรรมทั้ง 30 ประการ ซึ่งเป็นดุจทหารที่แกร่งกล้า มีศาตราวุธครบครัน ที่จะสามารถผจญกับหมู่มารขับไล่ให้ปราชัยหนีไปโดยสิ้นเชิงได้ ก็ทรงโสมนัส ประทับนิ่งอยู่โดยมิได้สะทกสะท้านแต่ประการใด
 ฝ่ายพญามารวัสวดีเห็นพระมหาบุรุษประทับนิ่ง มิได้หวั่นไหวแต่ประการใด ก็พิโรธ ร้องประกาศกึกก้องให้เสนามารรุกเข้าทำอันตรายหลายประการจนหมดฤทธิ์ บรรดาสรรพาวุธศาสตรายาพิษที่พุ่งซัดไป ก็กลับกลายเป็นบุปผามาลัยบูชาพระมหาบุรุษจนสิ้น ครั้งนั้นพญามารตรัสแก่พระมหาบุรุษด้วยสันดานหยาบว่า “ดูกร สิทธัตถะ บัลลังก์แก้วนี้เกิดด้วยบุญเรา เพื่อเรา ท่านเป็นคนไม่มีบุญ ไม่สมควรจะนั่งบนบัลลังก์แก้วนี้ จงลุกไปเสียโดยเร็ว”
 พระบรมโพธิสัตว์เจ้าตรัสตอบว่า “ดูกรพญามาร บัลลังก์แก้วนี้เกิดขึ้นด้วยบุญญาธิการของเราที่ได้บำเพ็ญมานับสี่อสังไขยแสนกัปป์ จะนับจะประมาณมิได้ เราผู้เดียวเท่านั้นสมควรจะนั่งบนบัลลังก์แก้ว ผู้อื่นไม่สมควรเลย” พญามารกราบทูลคัดค้านว่า ที่พระมหาบุรุษรับสั่งมานั้นไม่เป็นความจริง จงหาพยานมารับรองว่าพระองค์ทรงได้บำเพ็ญบารมีมาจริง ให้ประจักษ์เป็นสักขีพยานในที่นี้
 เมื่อมหาบุรุษไม่ทรงเล็งเห็นผู้อื่นใด ใครจะกล้ามาเป็นพยานยืนยันได้ จึงรับสั่งหานางวสุนธราเจ้าแม่แห่งธรณีว่า“ดูกร วสุนธรา นางจงมาเป็นพยานในการบำเพ็ญบารมีของเรา ในกาลบัดนี้ด้วยเถิด”
 ลำดับนั้น นางวสุนธราเจ้าแม่ธรณี ก็ชำแรกแทรกพื้นปฐพีขึ้นมาปรากฏกายประคองอัญชลีถวายอภิวาทพระมหาบุรุษโพธิสัตว์เจ้า แล้วประกาศให้พญามารทราบว่า พระมหาบุรุษเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้บำเพ็ญบารมีมามากมายตลอดกาล เหลือที่จะประมาณนับได้ แต่น้ำกรวดที่ข้าพเจ้าเอามวยมารองรับไว้เหนือเศียรเกล้า ก็มีมากพอจะถือเป็นหลักฐานวินิจฉัยได้ นางวสุนธรากล่าวแล้วก็ประจงหัตถ์อันงามปล่อยมวยผม บีบน้ำกรวดที่สะสมไว้ในอเนกชาติให้ไหลหลั่งออกมาดุจทะเลหลวง กระแสน้ำบ่าท่วมทับเสนามารทั้งปวงให้จมลงวอดวาย กำลังน้ำได้ทุ่มซัดช้างคีรีเมขล์ให้ถอยร่นลงไปติดขอบจักรวาล
 
ครั้งนั้น พญามารตกตะลึงเห็นเป็นอัศจรรย์ ด้วยมิได้เคยเห็นมาแต่กาลก่อนก็ประนมหัตถ์ถวายนมัสการ ยอมปราชัยพ่ายแพ้บุญบารมีของพระมหาบุรุษ แล้วก็อันตรธานหนีไปจากที่นั้น
 
เมื่อพระมหาบุรุษทรงกำจัดพญามารและเหล่าเสนาให้ปราชัยด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาสายัณห์มิทันที่พระอาทิตย์จะอัสดง ก็ทรงเบิกบานพระทัย ได้ปีติเป็นพลังภายในสนับสนุน เพิ่มพูนแรงปฏิบัติจิตภาวนาให้ยิ่งขึ้น จึงมิได้ทรงพักให้เสียเวลา ทรงเจริญสมถภาวนา กระทำจิตให้แน่วแน่ ปราศจากอุปกิเลส จนจิต สุขุมเข้าโดยลำดับไม่ช้าก็ได้บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ซึ่งเป็นส่วนรูปสมาบัติเป็นลำดับ จนถึงอรูปสมบัติ 4 บริบูรณ์
               
   ตรัสรู้
 ต่อแต่นั้นพระมหาบุรุษทรงเจริญญาณ อันเป็นองค์ปัญญาขั้นสูงทั้ง 3 ประการ ยังองค์พระโพธิฌาณให้เกิดขึ้นเป็นลำดับ ตามระยะกาลแห่งยามสามอันเป็นส่วนราตรีนั้นคือ ในปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกอดีตชาติที่พระองค์ทรงบังเกิดมาแล้วทั้งสิ้นได้ ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจตูปปาตญาณ บางแห่งเรียกว่า ทิพยจักษุ สามารถหยั่งรู้การเกิดการตาย ตลอดจนการเวียนว่ายของสรรพสัตว์อื่นได้หมด ในปัจฉิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ทรงปรีชาสามารถทำอาสวกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นไปด้วยพระปัญญา ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลม ก็ทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาปัจจุสมัย รุ่งอรุโณทัย ทรงเบิกบานพระหฤทัยอย่างสูงสุดในการตรัสรู้อย่างที่ไม่เคยมีมาแต่ก่อนกาล ถึงกับทรงเปล่งพระอุทานเย้ยตัณหาอันเป็นตัวการก่อให้เกิดสังสารวัฎฎทุกข์แก่พระองค์เป็นอเนกชาติได้ว่า “อเนกชาติสํสารํ ” เป็นอาทิ
 
ความว่า นับแต่ตถาคตท่องเที่ยวสืบเสาะหาตัวนายช่างผู้กระทำเรือน คือ ตัวตัณหา ตลอดชาติสงสารจะนับประมาณมิได้ ก็มิได้พานพบ ดูกร ตัณหา นายช่างเรือนบัดนี้ตถาคตพบท่านแล้ว แต่นี้สืบไป ท่านจะทำเรือนให้ตถาคตอีกไม่ได้แล้ว โครงเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว ช่อฟ้าเราก็หักทำลายเสียแล้ว จิตของเราเข้าถึงพระนิพพานอันเป็นธรรมที่ปราศจากสังขารเครื่องปรุงแต่งใด ๆ ได้ถึงความดับสูญสิ้นไปแห่งตัณหา อันหาส่วนเหลือมิได้โดยแท้
 
ในวาระนั้น อัศจรรย์ก็บังเกิดมี พื้นมหาปฐพีอันกว้างใหญ่ก็ไหวหวั่น พฤกษชาติทั้งหลายก็ผลิดอกออกช่องามตระการ เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าก็แซ่ซ้องสาธุการ โปรยปรายบุปผามาลัย ถวายสักการะเปล่งวาจาว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ด้วยปีติยินดี เป็นอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีมาในกาลก่อน
 ในปฐมสมโพธิ์กล่าวว่า ในวันที่ทรงตรัสรู้นั้น หมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น ก็ได้มีการตกแต่งประดับประดา แผ่นผ้าธงทิวทั้งหลายยกขึ้นที่ปลายขอบจักรวาล ทั่วสารทิศตลอดพื้นดินจรดพรหมโลก ต้นไม้ดอกไม้ในหมื่นจักรวาลก็ออกดอกออกผลไปทั่ว ปทุมชนิดที่ลำต้นก็ออกดอกที่เครือเถา ปทุมชนิดที่ห้อยในอากาศก็ออกดอกในอากาศ ปทุมชนิดที่เป็นก้านก็ทำลายพื้นศิลาทึบชูช่อขึ้นซ้อน ๆ กัน หมื่นโลกธาตุก็ได้เกลื่อนกลาดไปด้วยบุบผานานพันธุ์ โลกันตริกนรกกว้าง 8 พันโยชน์ในระหว่างจักรวาลทั้งหลาย ไม่เคยสว่างด้วยแสงอาทิตย์ ๗ ดวง ในกาลนั้นก็มีแสงสว่างไปทั่ว น้ำในมหาสมุทรลึก 84,000 โยชน์ ได้กลายเป็นน้ำหวาน แม่น้ำทั้งหลายหยุดนิ่งไม่ไหล คนตาบอดแต่กำเนิดได้แลเห็นรูป คนหูหนวกแต่กำเนิดก็เกิดเสียง คนง่อยเปลี้ยแต่กำเนิดก็เดินได้ บรรดาเครื่องจองจำทั้งหลาย คือ ขื่อคา เป็นต้น ก็ขาดหลุดไป
               
   พระพุทธเมตตา
 ภายในวิหารพระเจดีย์ มีพระพุทธปฏิมากรที่สร้างด้วยหินแกรนิตสีดำ ในสมัยปาละ ปางมารวิชัย มีอายุกว่า 1,400 ปีเศษ ๆ ทั้งลักษณะและขนาดพอ ๆ กับพระพุทธรูปปางภูมิสัมผัสที่มถากัวร์วิหาร นครกุสินารา ปิดทองเหลืองอร่าม มีเครื่องตั้งบูชาตรงหน้าพระพุทธรูป ที่ชาวไทยเรียกกันว่า องค์พ่อพระพุทธเมตตานั้น มีหินทรงกลมที่มองเห็นเฉพาะฐาน เจ้าหน้าที่ทำไม้เป็นสี่เหลี่ยมมาครอบไว้
 
มีการเล่าประวัติพระพุทธรูปนี้ไว้ในบันทึกของหลวงจีนถังซัมจั๋งว่า คราวเมื่อ ศศางกา กษัตริย์จากเบงกอล ได้เสด็จเข้าไปในวิหารมหาโพธิ์ พบพระปฏิมากรตั้งไว้บูชาองค์หนึ่ง ขณะแรกคิดจะทำลายด้วยมือตนเอง แต่เมื่อได้เห็นพระพักตร์ของพระปฏิมากรอันเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา ศศางกาก็ประหารไม่ลง จึงเสด็จกลับพระนคร ในระหว่างทางฉุกคิดขึ้นว่า ถ้ายังให้พระพุทธรูปตั้งอยู่ในวิหารต่อไป พุทธศาสนิกก็คงจะฟื้นฟูสถานที่นี้ขึ้นอีก จึงให้นายทหารผู้หนึ่งทำลายพระพุทธรูปนั่นเสีย ให้ประดิษฐานรูปพระมเหศวรขึ้นแทนที่  นายทหารผู้นั้นเมื่อมาถึงเฉพาะหน้าพระพุทธรูป ก็ประหารไม่ลงอีกคนหนึ่ง และรำพึงว่า  ถ้าหากทำลายพระพุทธรูปนี้ คงจะต้องตกนรกหมกไหม้ไปหลายกัปป์เป็นแน่ ซ้ำยังจะหมดโอกาสเกิดทันสมัย พระศรีอริยเมตไตรยอีกด้วย  ถ้าไม่ทำลาย  พระราชาก็คงต้องทำลายชีวิตเราและครอบครัวทั้งหมด นายทหาร ผู้นั้นคิดกลับไปกลับมาหลายตลบ ว่าจะปฏิบัติตามพระบัญชาดี หรือขัดพระบัญชาดี
 
มีการเล่าประวัติพระพุทธรูปนี้ไว้ในบันทึกของหลวงจีนถังซัมจั๋งว่า คราวเมื่อ ศศางกา กษัตริย์จากเบงกอล ได้เสด็จเข้าไปในวิหารมหาโพธิ์ พบพระปฏิมากรตั้งไว้บูชาองค์หนึ่ง ขณะแรกคิดจะทำลายด้วยมือตนเอง แต่เมื่อได้เห็นพระพักตร์ของพระปฏิมากรอันเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา ศศางกาก็ประหารไม่ลง จึงเสด็จกลับพระนคร ในระหว่างทางฉุกคิดขึ้นว่า ถ้ายังให้พระพุทธรูปตั้งอยู่ในวิหารต่อไป พุทธศาสนิกก็คงจะฟื้นฟูสถานที่นี้ขึ้นอีก จึงให้นายทหารผู้หนึ่งทำลายพระพุทธรูปนั่นเสีย ให้ประดิษฐานรูปพระมเหศวรขึ้นแทนที่  นายทหารผู้นั้นเมื่อมาถึงเฉพาะหน้าพระพุทธรูป ก็ประหารไม่ลงอีกคนหนึ่ง และรำพึงว่า  ถ้าหากทำลายพระพุทธรูปนี้ คงจะต้องตกนรกหมกไหม้ไปหลายกัปป์เป็นแน่ ซ้ำยังจะหมดโอกาสเกิดทันสมัย พระศรีอริยเมตไตรยอีกด้วย  ถ้าไม่ทำลาย  พระราชาก็คงต้องทำลายชีวิตเราและครอบครัวทั้งหมด นายทหาร ผู้นั้นคิดกลับไปกลับมาหลายตลบ ว่าจะปฏิบัติตามพระบัญชาดี หรือขัดพระบัญชาดี
 ในที่สุดก็ตัดสินใจว่าจะไม่ทำลายพระพุทธรูป แต่จะต้องซ่อนเสียให้พ้นจากสายตาประชาชน จึงไปตามชาวพุทธผู้มีศรัทธามาปรึกษาตกลงกัน แล้วลงมือสร้างกำแพงขึ้นหน้าพระพุทธรูป กั้นไว้ไม่ให้คนภายนอกรู้ว่าข้างในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงเอารูปพระมเหศวรตั้งไว้หน้ากำแพง และกลับไปกราบทูลศศางกาให้ทรงทราบ
 แทนที่ศศางกาจะดีพระทัย กลับหวาดกลัว เกรงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้นแก่ตน นับแต่นั้นเลยล้มป่วยมีอาการเจ็บปวดทั่วสรรพางค์กาย ในไม่ช้าก็มีอาการเนื้อหลุดออกเป็นชิ้น ๆ แล้วสิ้นพระชนม์ด้วยความทรมาน เมื่อศศางกาสิ้นชีพไปแล้ว นายทหารผู้รับพระบัญชาให้ทำลายพระพุทธรูปได้กลับมายังพุทธคยา และรีบทำลายกำแพงที่กั้นอยู่หน้าพระพุทธรูปออก ปรากฏว่าตะเกียงน้ำมันที่นายทหารผู้นั้นจุดบูชาพระพุทธรูปไว้ ยังลุกโพลงอยู่เหมือนเดิม
               
ท่านได้สนใจไปทัวร์ ไปเที่ยว ไปแสวงบุญ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ที่อยู่  บ้านวันแรมทาง
1/60 ซ.อนามัยงามเจริญ 12 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
แผนที่ "
บ้านวันแรมทาง" << คลิกที่นี่ค่ะ
โทรศัพท์ 
แฟกซ์ 
มือถือ (ปลา)
มือถือ (นุ้ย)
0-2405-4561
0-2405-4560
08-9811-9139 (AIS)
08-1692-8233 (DTAC)
Email info@wanramtang.com
Line ID wanramtang3
 
วันทำงาน วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-18.00 น.
วันเสาร์ เวลา 09.00-12.00 น.
  วันอาทิตย์ หยุดงาน งดการติดต่อทุกเรื่อง
ถ้าไม่รับสายหรือโทรไม่ติด กรุณาส่งเป็นข้อความ sms ส่ง email หรือ Line
                  
หรือติดต่อผ่านระบบอัตโนมัติ ด้านล่างนี้

 

 


ชื่อ :  *
เบอร์โทรศัพท์ :  *
อีเมล :  *
ชื่อทริปเดินทาง :  *
วันที่เดินทาง :  *
ต้องการ : จองทริป
สอบถาม
หัวข้อที่ต้องการสอบถาม :
รายละเอียด :



Tourist Information

สัตตมหาสถาน
ทัชมาฮาล



ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เลขที่ 11/06037
ติดต่อเรา
โปรแกรมการเดินทาง
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot










อุณหภูมิ พยากรณ์อากาศ
คำแนะนำเรื่อง อาการแพ้ความสูง Altitude Sickness อาการเวลาอยู่บนพื้นที่สูง Acute Mountain Sickness (AMS)


Copyright © 2007-2037 สงวนลิขสิทธิ์ภาพและบทความที่จัดทำขึ้นโดยเว็บไซต์ ห้ามลอกโดยเด็ดขาด
ติดต่อเรา
บริษัท อัพเดททัวร์แอนด์ทราเวล จำกัด
เลขที่ 1/60 ซอยอนามัยงามเจริญ 12 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ 10150
โทรศัพท์ : 024054561 , 0816928233 (dtac) , 0898119139 (ais)
Email : wanramtang@hotmail.com
Line ID: @wanramtang