งานเขียนพระเทพโพธิวิเทศ (วีรยุทโธ)
ReadyPlanet.com
dot dot


รวบรวมงานเขียนของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระธรรมโพธิวงศ์ (ว.ป.วีรยุทโธ) เอาไว้ที่นี่
เนื้อหาและบทความทั้งหมดทีนำมาลงในคอลัมน์นี้ ได้รับอนุญาตจากผู้เขียน เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องพระพุทธศาสนา เรื่องราวในพุทธประวัติ แก่ผู้สนใจทั่วไป

เข้ามาอ่านแล้ว ขอความกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยนะคะ คลิกที่นี่ 
"บอกกันหน่อย" ขอบคุณมากค่ะ

 



สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนที่ ๑
พุทธคยา-ในปัจจุบันเป็นบุญ
สถานและที่ท่องเที่ยวมีชื่อของ
ประเทศอินเดีย ถึงแม้ว่าชุมชน
จะไม่ใหญ่โตแต่พอถึงฤดูกาล
ไหว้พระประมาณเดือนตุลาคม
ถึงมีนาคม จะมีนักแสวงบุญจาก
ทั่วโลกจาริกมาที่นี่ โดยเฉพาะ
ชาวทิเบตจะลงจากภูเขามาปัก
หลักไหว้พระสวดมนต์ จุดไฟ
บูชาเหมือนกับว่าเป็นอาณาจักร
ของชาวพุทธไปชั่วระยะหนึ่ง
โดย พระราชรัตนรังษี
(ว.ป.วีรยุทโธ)
สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนที่ ๒
พาราณสี- พุทธวจนะที่ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมา
แล้วในกรุงพาราณสีได้มีพระ
ราชาแห่งรัฐกาสีทรงพระนามว่า
พรหมทัต เป็นกษัตริย์ที่มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มี
แสนยานุภาพอันเกรียงไกร
มีพาหนะมาก เป็นมหาวิชิต มี
ฉางหลวงเต็มด้วยข้าวเปลือก"
นั่นคือ ภาพรวมของเมือง
พาราณสี เมื่อ 2500 ปีมาก่อน

โดย พระราชรัตนรังษี
(ว.ป.วีรยุทโธ)
สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนที่ ๓
กุสินารา- การท่องเที่ยวไปตาม
พุทธสถานในอินเดีย เห็นเป็นประ
เภทคนผู้คุ้นศีลชินวัดเป็นส่วนมาก
ที่จะมุ่งไปไห้พระไหว้เจ้ากัน
เรื่องความสะดวกทางกาย
หวังให้น้อยไว้ก่อนแหละดี ถ้ามา
แบบคนติดสุขชนิดกาวตราช้าง
จะมีทุกข์เป็นเพื่อนร่วมเดินทาง
กับเราอย่างสนิทสนม เช่น นั่งรถ
จากพาราณสีไปเมืองโครักขปุร์
ระยะทางราว 200 กม. เท่านั้น
รถวิ่ง 6-7 ชม.แล้วไปยังกุสินารา
อีก 52 กม. รวมแล้ว 8 ชม.
โดย พระราชรัตนรังษี
(ว.ป.วีรยุทโธ)
สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนที่ ๔
ลุมพินี- ก่อนเสด็จอุบัติลงสู่โลก
มนุษย์ ทรงพิจารณาเห็นว่า
ตระกูลของผู้ครองนครศากยะ
เป็นที่เหมาะแก่การอุบัติ และผู้ที่
ควรรับรองกำเนิดคือ พระนางสิริ
มหามายาอัครมเหสีของพระเจ้า
สุทโธทนะ จึงตัดสินพระทัยเสด็จ
ลงสู่พระครรภ์ เมื่อวันอาสาฬห
ปูรณมีเพ็ญ เดือน 8 และได้เสด็จ
อุบัติ ณ สวนลุมพินีวันสถาน
โดย พระราชรัตนรังษี
(ว.ป.วีรยุทโธ)
วาทีหิมาลัย
ปรารภธรรม วาทีหิมาลัย หลักธรรมสู่หลักการปลูกฉันทะ การทำงานของนักเผยแผ่งาน พระธรรมทูตในแดนหิมาลัยวัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล พรรษากาล  ๒๕๔๘ พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ วีรยุทฺโธ) พระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย ประธานสงฆ์วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ประเทศอินเดีย ปฏิบัติการเจ้าอาวาส วัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล
คัดจากหนังสือ "ปรารภธรรม วาทีหิมาลัย" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
ร้อยมุมมอง ส่องอินเดีย
อินเดียเป็นมหาอาณาจักรที่รวบรวมความหลากหลาย ทั้งเก่าใหม่ ล้ำสมัย ล้าสมัย มั่งมี จนยาก ให้อยู่ด้วยกันได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้ผู้คิดเห็น ทั้งพบเจอ เกิดมุมมองที่กว้างแคบ ถี่ห่าง ต่างกันไปตามวิสัยทัศน์อย่างอิสระ
คัดจากหนังสือ "ร้อยมุมมอง ส่องอินเดีย" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
ร้อยวาทะ...ธรรมะปิดทอง (๑)
เกล็ดมณีแห่งวาทะ ธรรมะจากแดนพุทธองค์ ส่งเสริมศรัทธาให้มั่นคง เติมปัญญาให้เบิกบาน สู่การจาริกบุญตามสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล อินเดีย-เนปาล
คัดจากหนังสือ
"ร้อยวาทะ...ธรรมะปิดทอง"
โดย พระราชรัตนรังษี
(ว.ป.วีรยุทโธ)
ร้อยวาทะ...ธรรมะปิดทอง (๒)
ทรงชี้นำว่า สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบลนี้ คือ สมบัติของชาวพุทธผู้ศรัทธาเลื่อมใส  ให้เป็นจุดนัดพบของคนที่มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
คัดจากหนังสือ
"ร้อยวาทะ...ธรรมะปิดทอง"
โดย พระราชรัตนรังษี
(ว.ป.วีรยุทโธ)
ร้อยวาทะ...ธรรมะปิดทอง (๓)
โปรดเชื่อเถอะว่า ธรรมะย่อมรักษา
ผู้ประพฤติธรรม ทำความดีผีคุ้ม
เทวดารักษา เทพอารักษ์ปกป้อง
อย่าเบื่อต่อการทำดี..."
คัดจากหนังสือ
"ร้อยวาทะ...ธรรมะปิดทอง"
พระราชรัตนรังษี
(ว.ป.วีรยุทโธ)
อินไอเดีย
อินเดียมีอะไรดีๆ จึงมีพลังเก็บรวบรวมความหลากหลายไว้เป็นหนึ่งเดียวอย่างลงตัวที่สุด ยิ่งมานั่งถอดรหัสแยกแยะความหมาย คำว่า "อิน" กับ "เดีย" ก็ยิ่งมีรสอร่อยทางความหมาย
คัดจากหนังสือ
"อินไอเดีย"
โดย พระราชรัตนรังษี
(ว.ป.วีรยุทโธ)
Ph.D
พระราชรัตนรังษี ในบ้านเกิดพระพุทธเจ้า
...เราต้องเผยแผ่เรื่องพุทธสถาน ให้คนทั้งหลายเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้มีจริง...เราอยากให้คนเห็นว่าพระพุทธเจ้าเหมือนอย่างพวกเราเลย ท่านเป็นมนุษย์ที่พัฒนาตนเอง โดยใช้หลักธรรมอย่างที่พวกเราจะทำตามพระองค์ได้หมด อย่าไปย่อท้อ"
บทสัมภาษณ์ พระราชรัตนรังษี
คัดลอกจาก
"นิตยสารดิฉัน" คอลัมน์เปิดอก
เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา
เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
สร้างหลักปักฐาน ศีล สมาธิ ปัญญา
อันเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา
คัดจากหนังสือ
"เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา"
โดย พระราชรัตนรังษี
(ว.ป.วีรยุทโธ)
วิสัยทัศน์การเผยแผ่ในแดนพุทธภูมิ...พระราชรัตนรังษี
พระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงสถาปนาขึ้นในโลก เพื่อให้ผู้แสวงหาทางเจริญก้าวหน้าในชีวิต นำพุทธธรรมที่ทรงแสดงไปปฏิบัติ และรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น ยังผลให้ผู้ปฏิบัติพบสุข สงบ ร่มเย็น ตลอดถึงความพ้นทุกข์ได้
คัดจากหนังสือ "วิสัยทัศน์ การเผยแผ่ในแดนพุทธภูมิ" โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
อินเดียในมุมมองของบุคคลสำคัญ
อินเดียในมุมมองของบุคคลสำคัญเป็นอย่างไร ความเป็นอินเดียมีเสน่ห์และน่าค้นหาแค่ไหน ไปอินเดียแล้วจะได้อะไร ลองไปสัมผัสอินเดียสักครั้ง แล้วทุกคนจะได้เห็นมุมมองที่ต่างไปของอินเดีย
คัดจากหนังสือ "ปรารภธรรม วาทีหิมาลัย" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนพิเศษ..."เกี่ยวกับผู้เขียน" พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
พระวิเทศโพธิคุณ ( ว.ป.วีรยุทโธ ) ฉายาในขณะที่เขียนหนังสือเรื่อง "สู่แดนพระพุทธองค์" หรือ ท่านเจ้าคุณพระราชรัตนรังษี ในปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูตไทยในประเทศอินเดีย ที่วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร มานานตั้งแต่สมัยท่านเจ้าพระคุณพระสุเมธาธิบดี (ทตฺตสุทฺธิมหาเถร) ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา และหัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย ได้มอบหมายงานสำคัญ กระทั่งส่งเสริม สอนสั่งให้รักงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในแดนพุทธภูมิ และท่านก็สืบทอดงานนั้นได้อย่างสง่างาม
คัดจากหนังสือ "สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)

สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนพิเศษ..."วาทะ ๑"
พระพุทธวาจา
“ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดเที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ ๔ สถานเหล่านั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส ชนเหล่านั้นทั้งหมด เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์”
(มหาปรินิพพานสูตร ทีฆ.มหาวรรค.๑๐/๑๓๑/๑๓๕
คัดจากหนังสือ "สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนที่ ๕.... "นาลันทา"
เมืองนาลันทาเคยเป็นศูนย์กลางของศาสนาชิน ซึ่งคู่กับเมืองเวสาลีมานาน เดิมชื่อ นาลันทคาม มาตุภูมิของ ๒ พระอรหันต์ คือ พระสารีบุตร กับพระโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องขวา-ซ้ายของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง ที่ได้สนองงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระสารีบุตร พระธรรมเสนาบดีผู้เรืองโรจน์ด้วยปัญญา ส่วนพระโมคคัลลานะนั้นเป็นผู้เลิศด้วยการแสดงฤทธิ์
คัดจากหนังสือ "สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนที่ ๖..."แผ่นดินมคธ"
แคว้นมคธสมัยพุทธกาล เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่หนึ่งในสี่ของชมพูทวีป พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงมีความสำคัญในทางด้านการเมือง การศาสนา การเศรษฐกิจ และทางทหาร มีความรุ่งเรือง มั่งคั่งสมบูรณ์ เป็นที่ชมุนุมเจ้าศาสดาลัทธิ และเศรษฐีมหาศาลจำนวนมาก เมืองหลวงของแคว้นมคธ ชื่อ ราชคฤห์ มีพรมแดนทางตะวันออกจรดแม่น้ำจำปา ทางทิศเหนือจรดแม่น้ำคงคา ปัจจุบันอยู่ในเขตแคว้นพิหาร มีเมืองปัตนะเป็นเมืองหลวงของประชากร ๗๖ ล้านคน
คัดจากหนังสือ "สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนที่ ๗..."เขาคิชฌกูฏ"
ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏนั้นมีขนาดกว้างเกือบสองเมตร แบ่งออกเป็นขั้นบันได คงไม่ให้ลาดชันจนหมดกำลังขาก่อนจะถึงปลายทาง เดินขึ้นตามทางกำลังจะเหนื่อย ก็ถึงจุดที่เล่ากันว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นไว้ ณ ที่พระเจ้าพิมพิสารเสด็จลงจากรถพระที่นั่ง แล้วขึ้นประทับบนหลังช้าง พาขึ้นเขา เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
คัดจากหนังสือ "สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนที่ ๘ ...."เมืองปาฏลีบุตร"
เมืองปาฏลีบุตร ปรากฏชื่อขจรไกลรุ่งเรืองอย่างมากก็ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสถาปนาเป็นนครหลวง อาศัยเมืองปาฏลีบุตรเป็นฐานฝ่ายอาณาจักร ขยายอิทธิพลทางการปกครอง และฝ่ายศาสนจักร ได้ทรงสถาปนาสถาบันพระธรรมทูตขึ้นที่เมืองนี้ พร้อมกับถวายศาสนูปถัมภ์ ส่งพระนักเผยแผ่ไปยังนานาอารยประเทศ เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาให้แผ่ไพศาล เมล็ดพันธุ์แห่งพุทธศาสนาได้ไปเจริญงอกงามเป็นร่มเงา ออกเป็นดอกเป็นผลให้โลกได้รับอุดมธรรมตราบจนถึงปัจจุบันนี้
คัดจากหนังสือ "สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนที่ ๙ .... "นครเวสาลี"
เวสาลี คือเมืองหลวงของอาณาจักรวัชชี หนึ่งใน ๑๖ แคว้น ของชมพูทวีป เรียกกันหลายชื่อว่า ไวสาลี ไพสาลี หรือเวสาลี ก็ได้ ในสมัยพุทธกาลเคยเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จเยี่ยมเวสาลีครั้งแรกในพรรษาที่ ๕ เมื่อเวสาลีประสบทุพภิกขภัยและฉาตกภัยร้ายแรง ปัจจุบันเหลือไว้เป็นซากโบราณสถาน ที่ตำบลบาสาร์ห (Basarh) แห่งจังหวัดเวสาลี ห่างจากหชิปูร์ ๓๕ กม.
คัดจากหนังสือ "สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนที่ ๑๐ .... "นครสาวัตถี อาณาจักรโกศล"
นครสาวัตถีเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโกศล เป็น ๑ ใน ๖ ของเมืองมหาอำนาจ มีความรุ่งเรืองมากในมหาชนบท ๑๖ แคว้นของชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล แคว้นโกศลเป็นแคว้นที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมาก แคว้นกาสี แคว้นสักกะแห่งศากยวงศ์ ก็อยู่ภายใต้อำนาจ หรือความคุ้มครองของแคว้นโกศล เพราะเมืองสาวัตถีเป็นมหาอำนาจทางการเมือง ทางทหาร ที่มีความพร้อมด้วยแสนยานุภาพ ทั้งในแผ่นดินก็อุดมด้วยธัญพืช พระพุทธองค์จึงทรงปักหลักประกาศพระพุทธศาสนาอยู่ที่สาวัตถี รวม ๒๕ พรรษา
คัดจากหนังสือ "สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนที่ ๑๑ .... "มหานครเดลี"
มหานครเดลีเป็นเมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ที่จะต้องกล่าวถึงเพราะพระบรมศาสดาเสด็จประทานพระธรรมเทศนาแก่ชาวกุรุ ที่กัมมาสทัมมะนิคม ชื่อ มหาสติปัฏฐานสูตร และในอินทรปัตถ์นคร แห่งแคว้นกุรุ มีปรากฏในพระสูตร และวรรณคดีหลายเรื่อง
คัดจากหนังสือ "สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
สู่แดนพระพุทธองค์ ตอนที่ ๑๒ .... "เมืองกัลกัตตา"
กัลกัตตา ตั้งอยู่บริเวณฝั่งปากน้ำฮุฆลี (Hooghly River) ที่แม่น้ำคงคาไหลมา ๔,๐๐๐ กม. เศษ สิ้นสุดที่ปากอ่าวเบงกอล ลงสู่มหาสมุทรอินเดียตรงนี้ และชื่อของเมืองนัยว่า มาจากศัพท์ Kali Katta ซึ่งหมายถึงท่าน้ำของเจ้าแม่กาลี เมื่อชื่อเสียงเรียงนามกับอานุภาพแห่งความเชื่อต่อเจ้าแม่กาลีมากขึ้น จึงให้ชื่อ กัลกัตตา เป็นการเชิดชูยกย่อง คำว่า กาลีกัตตา เป็นภาษาเบงกาลีว่า Kalikata สันนิษฐานว่ามาจาก กาลี + เกษตร คือ กาลีเกษตรี แผ่นดินของเจ้าแม่กาลี หรือกาลีมาฏ ท่าน้ำของเจ้าแม่กาลีนั้นเอง
คัดจากหนังสือ "สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล" โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทโธ)
1
[Go to top]



ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เลขที่ 11/06037
ติดต่อเรา
โปรแกรมการเดินทาง
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot










อุณหภูมิ พยากรณ์อากาศ
คำแนะนำเรื่อง อาการแพ้ความสูง Altitude Sickness อาการเวลาอยู่บนพื้นที่สูง Acute Mountain Sickness (AMS)


Copyright © 2007-2037 สงวนลิขสิทธิ์ภาพและบทความที่จัดทำขึ้นโดยเว็บไซต์ ห้ามลอกโดยเด็ดขาด
ติดต่อเรา
บริษัท อัพเดททัวร์แอนด์ทราเวล จำกัด
เลขที่ 1/60 ซอยอนามัยงามเจริญ 12 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ 10150
โทรศัพท์ : 024054561 , 0816928233 (dtac) , 0898119139 (ais)
Email : wanramtang@hotmail.com
Line ID: @wanramtang