อัพเดทโปรแกรม 05/9/2567 |
|
|
|
|
ทัวร์แสวงบุญ อินเดีย เนปาล |
สังเวชนียสถาน 4 ตำบล |
7-16 ธันวาคม 2567
|
10 วัน 8 คืน |
เปิดรับไม่เกิน 25 ท่าน |
เดินทางขั้นต่ำ 10 ท่าน |
|
|
|
|
ราคา 32,900 บาท
* ยังไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบิน
(จ่ายเพิ่มค่าตั๋วอีกประมาณ 16,000-18,000 บาท) |
หมายเหตุ - ขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับราคาตามความเหมาะสม หากมีการเปลี่ยนแปลงของ ค่าธรรมเนียมน้ำมัน ภาษีสนามบิน และอัตราแลกเปลี่ยน |
|
|
มี พระธรรมวิทยากร บรรยายตลอดการเดินทาง..
นำพา สวดมนต์ นั่งสมาธิ และเจริญจิตภาวนา
|
|
|
ทัวร์แสวงบุญ
เส้นทางธรรมยาตรา ตามรอยบาทพระศาสดา
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเดีย เนปาล
สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และปฐมเทศนา
เป็นทริปแบบกันเอง ไม่เหนื่อย สะดวกสบายพอประมาณ
พักวัดไทย ร่วมบุญทำบุญทอดผ้าป่า ตามกำลังศรัทธา |
|
โปรแกรมการเดินทาง |
|
|
จุดนัดพบ
สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 ประตู 4-5 บริเวณที่นั่งหน้าประตู
วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2567
เวลา 08.00 น. (แปดโมงตรง)
|
|
DAY 01 |
วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
|
|
กรุงเทพ-พุทธคยา |
เริ่มโปรแกรมทัวร์-
08.00 น. พบกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ เช็คอินบัตรโดยสารและโหลดสัมภาระ
|
|
เที่ยวบิน |
TG327 |
|
Bangkok-Gaya |
|
สามารถโหลดกระเป๋าได้หนัก ไม่เกิน 20 กิโลกรัม |
เครื่องออก |
เวลา 11.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) |
เครื่องถึง |
เวลา 12.40 น. (ตามเวลาประเทศอินเดีย) |
|
* เวลาบิน อาจมีการเปลี่ยนแปลงก่อนเดินทาง |
|
|
11.00 น. ได้เวลาเครื่องออก มุ่งหน้าสู่ประเทศอินเดีย
*ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง 10 นาที
กินอาหารกลางวัน บนเครื่องบิน
12.40 น. (ตามเวลาประเทศอินเดีย) เดินทางถึงสนามบินพุทธคยา ประเทศอินเดีย ใช้เวลาต่อคิว ตรวจประทับตราวีซ่า ที่ ตม.อินเดีย ค่อนข้างนาน (ราวๆ 1-2 ชั่วโมง)
14.00 น. เข้าสู่ที่พัก
16.30 น. นำพาทุกท่านสู่ “อภิสัมพุทธสถาน” มหาเจดีย์พุทธคยา และ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า กราบสักการะพระพุทธเมตตา บูชาสถานที่ตรัสรู้ บริเวณใต้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สวดมนต์ทำวัตรเย็น สมาทานศีล 5
19.00 น. เดินทางกลับที่พัก กินอาหารค่ำ แล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย
|
|
ที่พักคืนนี้ |
วัดไทยพุทธคยา |
|
พักห้องละ 3-5 ท่าน
พักแยกหญิง-ชาย
ห้องพัดลม ห้องน้ำในตัว |
|
|
|
|
DAY 02 |
วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
|
|
พุทธคยา-นาลันทา-ราชคฤห์-พุทธคยา |
03.00 น. ตื่นนอน
04.00 น. เดินทางสู่ เมืองนาลันทา บ้านเกิดของอัครสาวกซ้าย-ขวา พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร *ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง
07.00 น. กินอาหารเช้า ที่วัดไทยนาลันทา
08.30 น. ไปกราบสักการะ “หลวงพ่อองค์ดำ” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อายุนับพันปี เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สร้างจากหินดำ ทางการไม่สามารถเคลื่อนย้ายเพื่อนำมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ได้เพราะขนาดที่ใหญ่มาก และทุกครั้งที่มีความพยายามโยกย้ายท่านออกไป ก็จะเกิดเหตุอาเพศเป็นประจำ ชาวบ้านท้องถิ่นมีความเชื่อว่าหลวงพ่อ สามารถดลบันดาลให้หายเจ็บหายป่วย คณะผู้แสวงบุญที่เลื่อมใสศรัทธา พากันไปกราบไหว้ขอความเป็นสิริมงคล
09.30 น. ไปกันที่ “มหาวิทยาลัยนาลันทา”
นาลันทา เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของพุทธศาสนา เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เคยรุ่งเรืองที่สุดในโลก ปัจจุบันเหลือแต่ซากปรักหักพัง สะท้อนความยิ่งใหญ่ในอดีต ในอดีตมหาวิทยาลัยแห่งนี้ประกอบด้วย ห้องเรียน ห้องสมุด หอพักนักศึกษา หอสวดมนต์ โรงครัว ยุ้งฉาง บ่อน้ำ มีพระสงฆ์มาศึกษาจำนวนมาก มีครูอาจารย์สอนถึง 1,400 ท่าน สักการะ “สารีบุตรสถูป” เป็นสถูปที่สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระสารีบุตร อัครสาวก บริเวณที่ประชุมเพลิง สร้างสมัยแรกโดยโยมมารดาท่านสารีบุตร คือ นางสารีพราหมณี ต่อมาพระเจ้าอโศกได้สร้างเสริมจากที่เดิม และกลายเป็น สถานที่สักการะของมหาชน ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยนาลันทา
11.00 น. กินอาหารกลางวัน ที่วัดไทยนาลันทา
|
|
|
หลวงพ่อดำ เมืองนาลันทา |
สารีบุตรสถูป มหาวิทยาลัยนาลันทา |
|
12.30 น. ออกเดินทางไปยัง เมืองราชคฤห์ *ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที
เมืองราชคฤห์ (Rajgir) เมืองที่เคยยิ่งใหญ่ เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธศาสนาได้ประดิษฐาน ตั้งมั่นที่เมืองนี้มาโดยตลอด เพราะการอุปถัมภ์บำรุงของพระราชาผู้ทรงธรรมของเมือง เมืองราชคฤห์จึงเต็มไปด้วยโบราณสถานต่างๆ มากมาย
13.00 น. ไปกันที่ สวนเวฬุวัน สักการะบูชาสถานที่อันเคยเป็นที่ตั้งของ วัดเวฬุวันวิหาร วัดที่พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงถวายสวนเวฬุวัน ให้เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงประทับจำพรรษา ณ ที่แห่งนี้รวมแล้ว 6 พรรษา เป็นที่ทรงตั้งอัครสาวกคือ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร และยังเป็นสถานที่ที่พระอรหันต์ 1,250 รูป มาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย ในวัน จาตุรงคสันนิบาต มาฆบูชา และพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่ภิกษุเหล่านั้น |
|
|
|
วัดเวฬุวันวิหาร วัดแห่งแรกในพุทธศาสนา |
มูลคันธกุฎี ณ ยอดเขาคิชฌกูฏ |
|
|
ถ้ำสุกรขาตา บนเขาคิชฌกูฏ |
ถ้ำพระโมคคัลลานะ บนเขาคิชฌกูฏ |
|
14.30 น. ไปเดินขึ้นเขาคิชฌกูฏกัน
เขาคิชฌกูฏ คือหนึ่งในเบญจคีรีหรือภูเขา 5 ลูก ได้แก่ เวภาระ เวปุละ คิชฌกูฏ อิศิคิลิ และปัณฑวะ ที่ชื่อเขาคิชฌกูฏนั้น เพราะมีลักษณะเหมือนนกแร้ง หรือ เป็นที่เกาะอาศัยของฝูงแร้งที่มาคอยกินซากศพโจรที่ถูกประหารและทิ้งลงเหว ในบริเวณโดยรอบเขาคิชฌกูฏนั้น นับว่าเป็นที่สัปปายะของเหล่าพระอริยสาวก เป็นที่จำพรรษาของพระอรหันต์หลายองค์ เช่น พระสารีบุตร พระอานนท์ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะ พระปุณณมันตานีบุตร และพระอุบาลี เป็นต้น
|
|
ระยะเดินขึ้นเขาคิชฌกูฎ ประมาณ 1 กิโลเมตร
ทางเดินขึ้นเขา ทางชัน แต่ปูลาดเดินง่าย (ตามภาพ)
มีขั้นบันไดเดินสะดวก เหนื่อยมากช่วงเริ่มเดิน เดินไปได้สักพัก ก็จะคลายเหนื่อย ค่อยๆรู้สึกดีขึ้น เดินกันไปช้าๆ เดินได้สบายๆ
แนะนำ สำหรับผู้ใหญ่ที่เดินไม่ค่อยไหว ขาไม่ดี หัวเข่าเจ็บ ฯลฯ
ที่นี่จะมีเสลี่ยงไว้ให้บริการ (ลักษณะเป็นดังรูป)
ถ้าต้องการใช้บริการ กรุณาแจ้งทีมงานล่วงหน้า
ราคา ขึ้น-ลง ต่อท่านประมาณ 2,200 รูปี รวมทิปให้คนแบก |
ระหว่างเดินขึ้นสู่ยอดเขาคิชฌกูฎ ผ่าน 2 ถ้ำหลัก คือ
1) ถ้ำพระโมคคัลลานะ
เป็นที่จำพรรษาของพระอัครสาวกผู้เลิศทางอิทธิฤทธิ์ คือ พระโมคคัลลานะ และที่แห่งนี้เองเป็นที่แก้ข้อสงสัยเรื่องเปรตมีจริงหรือไม่ มองขึ้นจากทางเดินจุดที่เป็นถ้ำของพระโมคคัลลานะนั้น จะเห็นก้อนหินตั้งเรียงกันสามก้อน มีช่องระหว่างเขาที่พอเดินได้ เมื่อก่อนยังไม่ก่อหินกั้นไว้ จะเป็นทางขึ้นลงเพียงทางเดียวเท่านั้น ณ จุดนี้เองเชื่อกันว่าเป็นที่พระเทวทัตพยายามกลิ้งก้อนหินลงมาเพื่อปลงพระชนม์พระพุทธองค์
2) ถ้ำสุกรขาตา
มีลักษณะเหมือนคางหมู ในสมัยพุทธกาล ถ้ำสุกรขาตาเป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรด ทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตร ในขณะที่พระสารีบุตรกำลังนั่งถวายงานพัดอยู่นั้น ท่านก็ได้ฟังธรรมและสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในขณะนั้นเอง เมื่อวันมาฆปุณณมี เพ็ญเดือน 3 หลังจากอุปสมบทแล้ว 15 วัน ส่วนทีฆนขปริพาชกได้บรรลุโสดาปัตติผลประกาศตนเป็นอุบาสกผู้นับถือพระรัตนตรัย
ณ ยอดเขาคิชฌกูฏ มูลคันธกุฎี คือที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบรมศาสดา ในพรรษาที่ 3, 5 และ 7 และ พรรษาสุดท้าย ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน มูลคันธกุฎีแห่งเขาคิชฌกูฏนี้ บริเวณที่ประทับของเดิมเป็นกุฎีแคบๆ เหมาะที่จะนั่งมากกว่านอน วัดดูด้วยศอกได้กว้าง 3 ศอก กับ 1 คืบ ยาว 4 ศอกเท่านั้น เป็นที่ซึ่งชาวพุทธถือว่าสำคัญ พากันมากราบไหว้บูชาเพื่อระลึกถึงพระพุทธองค์ ที่เสด็จมาประทับ ณ ยอดเขาแห่งนี้อยู่เสมอ และได้แสดงธรรมหลายพระสูตร เช่น ธัมมิกสูตร มหาสาโรปมสูตร อาฏานาฏิยสูตร อปริหานิยธัมมสูตร เป็นต้น ผู้มาถึงสถานที่แห่งนี้ เหมือนว่าได้มาเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ดวงจิตมีแต่ความปีติเบิกบานอย่างน่าอัศจรรย์
16.30 น. เดินทางกลับ พุทธคยา *ใช้เวลาเดินทาง 2-3 ชั่วโมง
19.00 น. เข้าสู่ที่พัก กินอาหารค่ำ แล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย
|
|
ที่พักคืนนี้ |
วัดไทยพุทธคยา
|
|
พักห้องละ 3-5 ท่าน
พักแยกหญิง-ชาย
ห้องพัดลม ห้องน้ำในตัว |
|
|
|
|
DAY 03 |
วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
|
|
พุทธคยา |
05.00 น. ตื่นนอน
06.00 น. ทำวัตรเช้า ที่พระอุโบสถ
07.00 น. กินอาหารเช้า
# สังเวชนียสถาน ลำดับที่ 1
09.00 น. นำพาทุกท่านสู่ “อภิสัมพุทธสถาน” มหาเจดีย์พุทธคยา และ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า สวดมนต์และกราบสักการะพระพุทธเมตตา บูชาสถานที่ตรัสรู้ บริเวณใต้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และ พระแท่นวัชรอาสน์
|
|
|
อภิสัมพุทธสถาน มหาเจดีย์พุทธคยา |
หลวงพ่อพระพุทธเมตตา |
|
|
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ |
รัตนจงกรมเจดีย์ |
|
11.00 น. กินอาหารกลางวัน แล้วให้เวลาอิสระ พักผ่อนหรือไปช้อปปิ้งตามอัธยาศัย
|
|
|
สถูปเจดีย์ บ้านนางสุชาดา |
ริมฝั่งน้ำเนรัญชรา ที่เหลือแต่ผืนทราย |
|
16.00 น.ไปดูบริเวณสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอธิษฐานจิตลอยถาดทองคำ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา หรือที่เรียกกันว่า “แม่น้ำแห่งการตรัสรู้” แล้วไปสักการะ สถูปเนินดิน สถานที่อันเคยเป็น บ้านนางสุชาดา ผู้ถวายข้าวมธุปายาสก่อนวันตรัสรู้ รวมกันสวดมนต์และเดินประทักษิณ รอบพระสถูปเจดีย์ ถวายเป็นพุทธบูชา
19.00 น. เข้าสู่ที่พัก กินอาหารค่ำ แล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย |
|
ที่พักคืนนี้ |
วัดไทยพุทธคยา |
|
พักห้องละ 3-5 ท่าน
พักแยกหญิง-ชาย
ห้องพัดลม ห้องน้ำในตัว |
|
|
|
|
DAY 04 |
วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
|
|
พุทธคยา-พาราณสี |
05.00 น. ตื่นนอน
06.00 น. ทำวัตรเช้า ที่พระอุโบสถ
07.00 น. กินอาหารเช้า
08.00 น. มุ่งหน้าสู่เมืองพาราณสี *ใช้เวลาเดินทาง 5-6 ชั่วโมง
ครึ่งทางจาก พุทธคยา-พาราณสี
แวะ ทำบุญที่วัดไทยระหว่างเส้นทาง วัดไทยสะสาราม
11.00 น. กินอาหารกลางวัน
16.00 น. เดินทางเข้าสู่ที่พัก ทำภารกิจส่วนตัว พักผ่อนให้คลายเหนื่อยจากการเดินทาง
17.00 น. ไปเที่ยวชมแม่น้ำคงคา
ลงเรือล่องไปตามลำน้ำคงคา ชมวิถีชีวิตผู้คนริมฝั่งน้ำ ดูพิธีอาบน้ำล้างบาป พิธีบูชาไฟ ชมกองไฟศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่เคยดับบริเวณท่ามณิกรรณิการ์ เพราะมีการเผาศพอยู่ตลอดเวลาตามความเชื่อที่ว่าที่นี่เป็นท่าของพระศิวะ หากนำศพมาเผาและเอากระดูกเถ้าถ่านโปรยลงที่ท่าน้ำนี้จะได้ไปสวรรค์ ทำพิธีลอยกระทงดอกไม้และจุดเทียนบูชา พระบรมสารีริกธาตุ และ แม่คงคา ชมสีสันและบรรยากาศยามค่ำคืน ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
|
|
|
อาทิตย์ขึ้น ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา - พาราณสี |
ล่องเรือแม่น้ำคงคา - พาราณสี |
|
20.00 น. กลับเข้าสู่ที่พัก กินอาหารค่ำ แล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย |
|
ที่พักคืนนี้ |
วัดไทยสารนาถ |
|
พักห้องละ 3-4 ท่าน
พักแยกหญิง-ชาย
ห้องพัดลม ห้องน้ำในตัว |
|
|
|
|
DAY 05 |
วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
|
|
พาราณสี-กุสินารา |
05.00 น. ตื่นนอน
06.00 น. กินอาหารเช้า
# สังเวชนียสถาน ลำดับที่ 2
07.00 น. สู่สังเวชนียสถาน “อิสิปตนมฤคทายวัน" สถานที่แสดงปฐมเทศนา เป็นการแสดงธรรมครั้งแรกที่มีชื่อว่า พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร สักการะธัมเมกขสถูปที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 และ ฤษีโกณทัญญะบรรลุโสดาบัน ทูลขอบวชเป็นพุทธสาวกรูปแรก และเป็นวันแรกที่มีพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ครบองค์รัตนตรัย
สวดมนต์บูชาสถานที่แสดงปฐมเทศนา และอธิษฐานจิตแผ่บุญ กราบสักการะมูลคันธกุฎีที่พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาแรก และยสเจตียสถาน สถานที่แห่งความไม่ขัดข้อง ไม่มีความวุ่นวาย เป็นเจดีย์ขนาดเล็กมีอาคารสี่ เหลี่ยมมุงไว้เป็นอย่างดี สถานที่นี้เชื่อกันว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงอิทธาภินิหาร โปรดพระยสกุลบุตรผู้เป็นบุตรเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี ด้วยอนุปพพิกถา ในข้อธรรมที่แสดงทาน ศีล สวรรค์ เนกขัมมะ กามาทีนพ ตามลำดับ เป็นผลให้ยสมาณพได้ ดวงตาเห็นธรรม และให้บิดาได้เป็นปฐมอุบาสก มารดาและภรรยาได้เป็นปฐมอุบาสิกา ณ สถานที่นี้อีกด้วย
|
|
|
บริเวณสถานที่แสดงปฐมเทศนา |
ธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงปฐมเทศนา |
|
|
ภายใน พิพิธภัณฑ์สารนาถ |
ภายใน พิพิธภัณฑ์สารนาถ |
|
10.30 น. เข้าชม พิพิธภัณฑ์สารนาถ ที่รวบรวมเก็บรักษาพระพุทธรูปและวัตถุโบราณ ที่ขุดได้ในบริเวณสารนาถ เมื่อปี พ.ศ. 2483 เช่น ยอดเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งแกะสลักเป็นรูปสิงโต 4 เศียร หันหลังชนกัน และพระพุทธรูปหินทรายแดงเนื้อละเอียดปางปฐมเทศนา ที่มีพุทธลักษณะอันโดดเด่นงดงามที่สุดองค์หนึ่งในชมพูทวีป
11.00 น. กินอาหารกลางวัน
13.00 น. มุ่งหน้าสู่เมืองกุสินารา *ใช้เวลาเดินทาง 5-6 ชั่วโมง
19.00 น. เข้าสู่ที่พัก กินอาหารค่ำ แล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย
|
|
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
สร้างขึ้นเพื่อน้อมเป็นพุทธบูชา และเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 วาระครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ร่วมสักการะ พระบรมสารีริกธาตุ ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ ทรงบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ใน “พระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา” พระมหาเจดีย์ ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ในวัดไทยกุสินาราฯ |
|
|
ที่พักคืนนี้ |
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
|
|
พักห้องละ 4-5 ท่าน
พักแยกหญิง-ชาย
ห้องพัดลม ห้องน้ำในตัว |
|
|
|
|
DAY 06 |
วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
|
|
กุสินารา-ลุมพินี |
05.00 น. ตื่นนอน
06.00 น. ทำวัตรเช้า ที่พระอุโบสถ
07.00 น. กินอาหารเช้า
# สังเวชนียสถาน ลำดับที่ 3
สู่สังเวชนียสถาน ปรินิพพานสถาน สถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน ที่มีต้นสาละปลูกไว้เป็นอนุสรณ์ นมัสการมหาปรินิพพานสถูป และเข้าไปสักการะ พระพุทธรูปปางอนุฏฐิตสีหไสยาสน์ คือปางเสด็จบรรทมครั้งสุดท้ายภายในวิหารปรินิพพาน
- หากจะทำพิธีถวายผ้าห่มพระพุทธปรินิพพานให้เตรียมผ้าขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 5.50 เมตร จะห่มได้พอดี
สวดมนต์บูชา องค์พระพุทธปรินิพพาน และถวายเครื่องสักการะ ปิดทองที่พระพุทธบาท และอธิษฐานจิตขอพร
|
|
องค์พระพุทธปรินิพพาน |
|
|
ปรินิพพานสถาน สถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน |
มกุฏพันธนเจดีย์ สถูปที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระ |
|
แล้วไปสักการะ มกุฏพันธนเจดีย์ ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร สถูปที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระ หลังวันปรินิพพาน 7 วัน กล่าวคำบูชาสถานที่ถวายพระเพลิง สวดมนต์ ปฏิบัติบูชาตามสมควรแก่เวลา
11.00 น. กินอาหารกลางวัน
13.00 น. ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่แดนประสูติ ณ ประเทศเนปาล
*ใช้เวลาเดินทาง 5-6 ชั่วโมง
แวะพักระหว่างทาง ที่วัดไทยระหว่างเส้นทาง
วัดไทยนวราชรัตนาราม (วัดไทย 960) โครงการที่พักริมทางสำหรับพุทธศาสนิกชนผู้เดินทางแสวงบุญจากทั่วโลก มีห้องน้ำ ที่พัก ศาลาอเนกประสงค์ ร้านขายของที่ระลึก ชากาแฟ และ โรตีร้อนๆ ราดนมข้นหวาน ที่ทางวัดมีไว้รับรองทุกคนที่มาเยือน
จากนั้นออกจากวัดไทย 960 ไปที่ด่านโสเนาลี (Sonauli) ผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและเดินทางต่อสู่ลุมพินี
19.00 น. เข้าสู่ที่พัก กินอาหารค่ำ
แล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย ในร่มเงาของพุทธสถานที่ร่มเย็น
|
|
ที่พักคืนนี้ |
วัดไทยลุมพินี |
|
พักห้องละ 2-4 ท่าน
พักแยกหญิง-ชาย
ห้องพัดลม ห้องน้ำในตัว |
|
|
|
|
DAY 07 |
วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
|
|
ลุมพินี |
|
05.00 น. ตื่นนอน
06.00 น. กินอาหารเช้า
|
07.00 น. ออกเดินทางไปเที่ยวชม กรุงกบิลพัสดุ์ และ วัดนิโครธาราม
กรุงกบิลพัสดุ์ นครพุทธบิดา แม้ว่าจะไม่เป็นสังเวชนียสถาน แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่เมื่อครั้งเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และเป็นเมืองพุทธบิดาและเจ้าศากยะทั้งหลาย มีเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้นมากมาย รวมทั้งพระธรรมเทศนาที่สำคัญหลายๆกัณฑ์ พระสาวกที่มีชาติภูมิในเมืองนี้ก็เป็นหลักสำคัญในการสืบต่อพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน
วัดนิโครธาราม เป็นอารามที่พระเจ้าสุทโธทนะ พร้อมด้วยพระประยูรญาติ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ สร้างขึ้นถวายการต้อนรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คราวเสด็จนิวัตรพระนคร สร้างขึ้นเพื่อให้พระพุทธเจ้าประทับ พร้อมด้วยพระอรหันต์ 20,000 รูป
|
|
|
|
กรุงกบิลพัสดุ์ |
วัดนิโครธาราม |
|
|
11.00 น. กินอาหารกลางวัน |
|
13.00 น. ออกเดินทางไปกราบสักการะ รามคามสถูป
รามคามสถูป สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเก่าแก่ที่สุด ที่ยังคงความบริสุทธิ์ และถูกเก็บซ่อนไว้ด้วยกาลเวลา ณ เมืองเทวทหะ ประเทศเนปาล สถูปเก่าแก่ดั้งเดิมที่สุด รอดจากการถูกทำลายมาทุกยุคสมัย นับแต่หลังพุทธปรินิพพาน หลังจากถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมืองเทวทหะของพระพุทธมารดา เป็น 1 ใน 8 เมือง ที่ไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองกุสินารา แล้วนำพระบรมสารีริกธาตุนั้นมาบรรจุ ณ รามคามสถูป |
|
|
|
รามคามสถูป สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเก่าแก่ที่สุด |
|
|
หลังพุทธปรินิพพานได้ 8 ปี (พ.ศ. 8) พระมหากัสสปะ ต้องการรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด จากสถูปทั้ง 8 เมืองได้เคยได้รับแบ่งไป มาไว้ที่เดียวกันเพื่อง่ายต่อการพิทักษ์รักษา ณ มณิยามัธใกล้พระนครราชคฤห์ หลังจากพระมหากัสสปะ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุออกมาจากสถูปแล้วได้ 7 เมือง เมื่อไปถึงรามคามสถูป ได้มีพญานาคราชมาปรากฏในเพศของมานพหนุ่ม กล่าวอ้อนวอนว่า.. "อย่าได้นำพระบรมสารีริกธาตุในส่วนนี้ไปเลย ตนและบริวาร มีความเคารพ ศรัทธา เลื่อมใส จะดูแล รักษา คุ้มครอง พระบรมสารีริกธาตุในพระสถูปนี้ไว้เอง..." |
พระมหากัสสปะตรวจดูแล้วก็เห็นว่า เหล่านาคนี้จักสามารถรักษาพระบรมสารีริกธาตุนี้เอาไว้ได้จนถึงปลายพุทธศาสนายุคกาล จึงได้อนุโมทนา ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ก็มีพระประสงค์จะนำพระบรมสารีริกธาตุออกมาจากรามคามสถูป แต่ก็ปรากฎพญานาคราชออกมาทูลขอร้องไว้ด้วยเหตุเช่นเดิม ในภายหลังแม้จะมีความพยายามที่จะขุดสำรวจ ให้ได้ก็มีเหตุ ให้รอดพ้นมาได้ทุกครั้ง... ในปัจจุบันที่รามคามสถูป มีความบริสุทธิ์ ปลอดจากการตั้งศาสนสถานของศาสนาอื่น ไม่มีเทวาลัย หรือ สิ่งก่อสร้างจากความเชื่ออื่นใด และในทุกวันพุธที่ตรงกับวันพระใหญ่ ก็มักปรากฎมีแสงสว่างและเสียงดนตรีออกจากสถูปนี้ให้ชาวบ้านโดยรอบได้อัศจรรย์อยู่เสมอ |
|
19.00 น. กลับเข้าสู่ที่พัก กินอาหารค่ำ
แล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย ในร่มเงาของพุทธสถานที่ร่มเย็น |
|
ที่พักคืนนี้ |
วัดไทยลุมพินี |
|
พักห้องละ 2-4 ท่าน
พักแยกหญิง-ชาย
ห้องพัดลม ห้องน้ำในตัว |
|
|
|
|
DAY 08 |
วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
|
|
ลุมพินี-สาวัตถี |
|
05.00 น. ตื่นนอน
06.00 น. กินอาหารเช้า
# สังเวชนียสถาน ลำดับที่ 4
เดินทางสู่ สังเวชนียสถาน ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ซึ่งเชื่อกันว่าบริเวณ ที่ประสูติของสิทธัตถราชกุมาร คือจุดที่เสาศิลา ของพระเจ้าอโศกมหาราชตั้งอยู่ และยังมีข้อความภาษาพราหมีจารึกไว้อย่างสมบูรณ์ เขียนว่า เป็นสถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มหามายาเทวีวิหาร (The Mahamaya Devi Temple) ภายในมีศิลาสลักภาพพุทธประวัติปางประสูติ เป็นรูปพุทธมารดา อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวา เหนี่ยวกิ่งไม้สาละ มีรูปเจ้าชายสิทธัตถะ ออกมาทางปัสสะขวา ของพระพุทธมารดา ด้านหน้ามหามายาเทวีวิหาร มี สระโบกขรณี (The Sacred Pond) ซึ่งเป็นที่สรงสนานของพระนางสิริมหามายาเทวี ก่อนและหลังประสูติกาลพระกุมาร สวดมนต์บูชาสถานที่ประสูติ กล่าวคำอธิษฐานจิตให้ชีวิตประสบแต่ความดีงาม เสมือนการได้เกิดใหม่ในแดนประสูติแห่งนี้
|
|
|
|
เสาหินพระเจ้าอโศก มหามายาเทวีวิหาร |
ศิลาสลักภาพพุทธประวัติปางประสูติ |
|
|
11.00 น. กินอาหารกลางวัน
12.00 น. ออกเดินทางกลับเข้าประเทศอินเดีย มุ่งหน้าสู่นครสาวัตถี ฐานที่มั่นแห่งกองทัพธรรม
*ใช้เวลาเดินทาง 7-8 ชั่วโมง
12.45 น. ถึงชายแดน ใช้เวลาผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง
แวะพักที่ วัดไทยนวราชรัตนาราม (วัดไทย 960) ที่พักริมทางสำหรับพุทธศาสนิกชนผู้เดินทางแสวงบุญจากทั่วโลก มีห้องน้ำ ที่พัก ศาลาอเนกประสงค์ ร้านขายของที่ระลึก ชากาแฟ และ โรตีร้อนๆราดนมข้นหวาน ที่ทางวัดมีไว้รับรองทุกคนที่มาเยือน
14.00 น. แล้วออกเดินทางต่อ
16.00 น. แวะพักระหว่างทาง วัดสิทธารถราชมณเฑียร ที่วัดไทยระหว่างเส้นทาง
กินอาหารเย็น อิ่มแล้วเดินทางต่อ
20.00 น. เข้าสู่ที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัยในร่มเงาของพุทธสถานที่ร่มเย็น |
|
ที่พักคืนนี้ |
วัดไทยเชตวันมหาวิหาร
|
|
พักห้องละ 4-6 ท่าน
พักแยกหญิง-ชาย
ห้องพัดลม ห้องน้ำในตัว |
|
|
|
|
DAY 09 |
วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
|
|
สาวัตถี-ลักเนา |
05.00 น. ตื่นนอน
06.00 น. กินอาหารเช้า แล้วออกไปสักการะสถานที่สำคัญในเมืองสาวัตถีกัน
สาวัตถี หรือ ศราวัสตี (Sravasti) สมัยพุทธกาลเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล มีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นกษัตริย์ครองเมือง พระพุทธองค์ทรงประทับบำเพ็ญพุทธกิจในเมืองนี้ นานถึง 25 พรรษา ได้ทรงแสดงพระสูตร พระวินัย และ ชาดกที่สำคัญๆ เช่น มงคลสูตร กรณียเมตยสูตร เรื่องนางจิญจมาณวิกา นันทมาณพ โจรองคุลีมาล นางปฏาจารา การเกิดขึ้นแห่งยักษีณี
|
|
|
มูลคันธกุฎี ภายในเชตวันมหาวิหาร |
ต้นอานันทโพธิ์ ภายในเชตวันมหาวิหาร |
|
เริ่มต้นด้วยการไปที่ เชตวันมหาวิหาร พระอารามนี้ท่านอนาถบิณฑิกะคฤหบดี เป็นผู้หาสถานที่เพื่อจะสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า เห็นสวนเจ้าเชตกุมาร เหมาะกว่าที่อื่นๆ ท่านจึงได้เจรจาขอซื้อสวนนี้ เจ้าเชตได้เสนอราคาที่ดินโดยการให้นำทองคำมาปูเรียงจนเต็มบริเวณที่ต้องการซื้อทั้งหมด ท่านจึงให้คนนำเกวียนบรรทุกแผ่นทองคำมาเรียงจนเกือบเต็มบริเวณนั้นทั้งหมด เจ้าเชตเห็นถึงศรัทธาที่แน่วแน่ของท่าน ประสงค์ร่วมทำบุญด้วยจึงมอบที่เหลือนั้นให้ และขอให้สร้างซุ้มประตูไว้ด้วย เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้วท่าน อนาถะได้จารึกชื่อเจ้าเชตไว้ที่ซุ้มประตูอันเป็นที่มาของชื่อวัดว่า เชตวันมหาวิหาร ท่านอนาถบิณฑกะเศรษฐี ได้สร้างวิหาร กุฏิ ห้องประชุม โรงครัว เวจกุฎี ห้องน้ำ บ่อน้ำ เป็นต้น พระพุทธองค์เสด็จประทับจำพรรษา ณ พระเชตวันแห่งนี้ รวมแล้วถึง 19 พรรษา
จากนั้นไปดูที่สถูปเก่าที่เชื่อกันว่าบริเวณนี้คือ บ้านท่านองคุลีมาล และ บ้านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี อยู่ในบริเวณพระราชวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล เลยพระวิหารเชตวันไปประมาณ 3 กิโลเมตร ปัจจุบันยังมีเขตเมืองสาวัตถีให้เห็นเป็นกำแพงล้อมรอบเมือง และภายในเมืองก็จะมีอาคารสิ่งปลูกสร้างในอดีตที่ถูกฝังไว้ใต้ดินเป็นจำนวนมาก ทางรัฐบาลอินเดียได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นสมบัติของทางการ และกำลังทำการขุดค้นเพื่อหาหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์
11.00 น. กินอาหารกลางวัน
|
เชิญทุกท่านร่วมกันกราบขอบคุณพระธรรมวิทยากร ที่ได้ให้ความรู้ตลอดเวลาที่เดินทางไปสังเวชนียสถานในที่ต่างๆ และกราบขอขมาในสิ่งที่พวกเราได้ล่วงเกิน ต่อพระสงฆ์ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ แล้วร่วมกันทำพิธีถวายปัจจัย ทำบุญถวายแก่พระธรรมวิทยากร ผู้ใดที่ประสงค์สมทบปัจจัยใดๆเพิ่มเติมขอเชิญร่วมอนุโมทนาตามกำลังศรัทธา
ทำบุญถวายพระธรรมวิทยากร ตามกำลังศรัทธา
|
14.00 น. ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่ เมืองลักเนา
*ระยะทาง 180 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง
18.00 น. ถึงเมืองลักเนา เดินทางเข้าสู่สนามบิน
กินอาหารเย็น "เป็นข้าวกล่อง" ที่แพ็คมาจากวัดไทย
|
|
เที่ยวบิน |
FD147 |
|
Lucknow-ฺDon Muang |
|
สามารถโหลดกระเป๋าได้หนัก ไม่เกิน 20 กิโลกรัม |
เครื่องออก |
เวลา 23.30 น. (ตามเวลาประเทศอินเดีย) |
เครื่องถึง |
เวลา 04.25 น. (ตามเวลาประเทศไทย) |
|
* เวลาบิน อาจมีการเปลี่ยนแปลงก่อนเดินทาง |
|
|
23.30 น. ได้เวลาเครื่องออก มุ่งหน้าสู่ สนามบินดอนเมือง ประเทศไทย
*ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง 25 นาที
|
|
DAY 10 |
วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
|
|
ดอนเมือง ประเทศไทย |
04.25 น. ถึงสนามบินดอนเมือง สวัสดีประเทศไทย
จบโปรแกรมทัวร์- |
|
หมายเหตุ- โปรแกรมการเดินทาง อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของช่วงเวลา และสถานการณ์เฉพาะหน้า |
|
รายการ ทอดผ้าป่า 9 วัด
ร่วมกันทำบุญ ทอดผ้าป่าเพื่อทำนุบำรุงวัด ตามกำลังศรัทธา |
วัดที่ 1 - วัดไทยพุทธคยา
(เมืองพุทธคยา)
วัดที่ 2 - วัดไทยนาลันทา
(เมืองนาลันทา)
วัดที่ 3 - วัดไทยสะสาราม
(อยู่ระหว่างเส้นทาง พุทธคยา-พาราณสี)
วัดที่ 4 - วัดไทยสารนาถ
(เมืองพาราณสี)
วัดที่ 5 - วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
(เมืองกุสินารา)
วัดที่ 6 - วัดไทยลุมพินี
(ประเทศเนปาล)
วัดที่ 7- วัดไทยนวราชรัตนาราม 960
(ชายแดน อินเดีย-เนปาล)
วัดที่ 8 - วัดสิทธารถราชมณเฑียร
(อยู่ระหว่างเส้นทาง ลุมพินี-สาวัตถี)
วัดที่ 9 - วัดไทยเชตวันมหาวิหาร
(เมืองสาวัตถี)
|
|
ราคาทัวร์ |
ราคา 32,900 บาท
* ยังไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบิน |
|
*ราคานี้ ยังไม่รวม ค่าตั๋วเครื่องบิน
ทุกเส้นทางตามที่ระบุในโปรแกรม
จ่ายเพิ่มค่าตั๋วเครื่องบิน ประมาณ 16,000 - 18,000 บาท++
จ่ายตามราคาจริง ณ วันที่จอง/วันที่ออกตั๋ว
จองเร็วได้ตั๋วถูก จองช้าได้ตั๋วแพง
หมายเหตุ - ขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับราคาตามความเหมาะสม หากมีการเปลี่ยนแปลงของ ค่าน้ำมัน และ อัตราแลกเปลี่ยน เนื่องด้วยความผันผวนของสถานการณ์โลก ในปัจจุบัน
|
|
ราคานี้รวม-
ค่าวีซ่าอินเดีย *ประเภท e-Tourist VISA 30 Days
(ฟรีค่าวีซ่า ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2567)
ค่าวีซ่าเนปาล *ประเภท 15 Days
อาหารมื้อหลักทุกมื้อ รวม ชา กาแฟ ของหวาน และผลไม้
ค่าน้ำดื่ม (น้ำเปล่าบรรจุขวด) ไม่จำกัดจำนวน แต่กรุณาดื่มอย่างรู้คุณค่า
ที่พัก วัดไทย พักห้องละ 4-6 ท่าน (หรือแล้วแต่ทางวัดจะจัดให้)
พักแยกชาย-หญิง เป็นห้องพัดลม มีห้องน้ำในตัว
เงินทำบุญ ค่าธรณีสงฆ์-ค่าห้องพัก-ค่าน้ำค่าไฟ
เงินทำบุญ ค่าอาหาร
เงินทำบุญ พระธรรมวิทยากร
ค่ารถปรับอากาศตลอดเส้นทาง
ค่าบัตรเข้าชมสถานที่ต่างๆ เฉพาะตามที่ระบุในโปรแกรม
ค่าบริการ หัวหน้าทัวร์คนไทย
ค่าบริการ Escort ท้องถิ่น
ประกันการเดินทาง-
เงื่อนไข- ครอบคลุมภายใต้ข้อตกลงที่มีไว้กับบริษัทประกันชีวิต
ราคานี้ไม่รวม-
*ค่าตั๋วเครื่องบิน สายการบินตามที่ระบุในโปรแกรม
ค่าธรรมเนียมน้ำมันและภาษีสนามบิน ไทย-อินเดีย
ค่ารถสามล้อ ระหว่างเดินทางในพุทธคยา
ค่ากล้องถ่ายรูป และ ค่ากล้องวีดีโอ
ค่าทิป escort หรือผู้ช่วยหัวหน้าทัวร์ ชาวอินเดีย
ค่าทิป หัวหน้าทัวร์คนไทย
ค่าทิป คนขับรถ , เด็กรถ , เด็กยกกระเป๋า และทิปอื่นๆ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในรายการ
อาหารมื้อเย็น
ท่านใดถือศีล 8 ไม่กินอาหารเย็น ไม่คืนค่าอาหาร
ค่าธรณีสงฆ์ ค่าอาหาร
ในการเข้าพักที่วัด ทางเราได้จัดเตรียมเงินทำบุญ ถวายเป็นค่าธรณีสงฆ์ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอาหาร ไว้แล้ว ตามความเหมาะสม ถ้าใครต้องการจะทำบุญเพิ่มก็แล้วแต่ศรัทธา
ค่าทิป-
เด็กยกกระเป๋า ควรให้ไม่ต่ำกว่า 20 บาท หรือ 40 รูปี ต่อกระเป๋า 1 ใบ
ทีมงานอินเดีย (ไกด์ท้องถิ่น คนขับรถ เด็กรถ)
เผื่อเงินไว้ประมาณ 1,800 รูปี หรือ 900 บาท
สำหรับ 9 วัน ในอินเดีย
(ให้ในวันสุดท้าย ของการเดินทาง)
หัวหน้าทัวร์คนไทย
ตามแต่พอใจ (ไม่บังคับ)
หรือ เผื่อเงินไว้ประมาณ 900 บาท
สำหรับ 9 วัน ในอินเดีย
(ให้ในวันสุดท้าย ของการเดินทาง)
|
การชำระเงิน |
1) จ่ายมัดจำ 5,000 บาท ทันทีที่จอง
*ยึดมัดจำถ้าขอเลิกการเดินทาง
2) จ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน
ประมาณ (16,000-20,000) บาท ทันทีที่จอง
*ถ้าขอยกเลิกการเดินทาง
คืน/ไม่คืนเงิน ตามเงื่อนไขของสายการบิน
(กรุณาสอบถาม ราคาตั๋ว ก่อนโอนเงินจองทัวร์)
3) จ่ายส่วนที่เหลือ
27,900 บาท ภายในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567
|
เงื่อนไขการให้บริการ |
จองล่วงหน้าตามช่วงเวลาที่กำหนด ชำระเงินตามเงื่อนไขข้างต้น
ขอยกเลิกการเดินทาง ยึดเงินมัดจำ และหักค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง และ/หรือ ขอยกเลิกการเดินทาง น้อยกว่า 30 วัน เก็บค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน
กรณีเกิดการระบาดต่างๆ จนทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ ขอสงวนสิทธิ์ในการ เลื่อน/ยกเลิกการเดินทาง ตามแต่สถานการณ์เฉพาะหน้า
เมื่อท่านออกเดินทางกับคณะแล้ว หากท่านงดการใช้บริการรายการใดรายการหนึ่ง เช่น ไม่เที่ยวบางรายการ ไม่ทานอาหารบางมื้อ หรือไม่เดินทางพร้อมคณะ ถือว่าท่านสละสิทธิ์ ไม่อาจเรียกร้องค่าบริการและเงินมัดจำคืนได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น กรณีที่การตรวจคนเข้าเมืองทั้งที่ประเทศไทยและต่างประเทศ ปฏิเสธมิให้เดินทางออกหรือเข้าประเทศ หรือ กรณีความล่าช้าจากสายการบิน การประท้วง การนัดหยุดงาน การก่อจลาจล ทางเราขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนค่าบริการไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อท่านตกลงชำระเงิน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ถือว่าท่านได้ยอมรับเงื่อนไขข้อตกลงต่างๆ ที่ได้ระบุไว้แล้วทั้งหมดานออกเดินทางกับคณะแล้ว หากท่านงดการใช้บริการรายการใดรายการหนึ่ง เช่น ไม่เที่ยวบางรายการ ไม่ทานอาหารบางมื้อ หรือไม่เดินทางพร้อมคณะ ถือว่าท่านสละสิทธิ์ ไม่อาจเรียกร้องค่าบริการและเงินมัดจำคืนได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น กรณีที่การตรวจคนเข้าเมืองทั้งที่ประเทศไทยและต่างประเทศ ปฏิเสธมิให้เดินทางออกหรือเข้าประเทศ หรือ กรณีความล่าช้าจากสายการบิน การประท้วง การนัดหยุดงาน การก่อจลาจล ทางเราขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนค่าบริการไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อท่านตกลงชำระเงิน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ถือว่าท่านได้ยอมรับเงื่อนไขข้อตกลงต่างๆ ที่ได้ระบุไว้แล้วทั้งหมด
กรณีเจ็บป่วยระหว่างเดินทาง หรือในขณะที่อยู่ในประเทศอินเดีย เบื้องต้นจะรักษาตามอาการ ทั้งนี้ผู้ร่วมทางต้องดูแลตัวเอง หากมีอาการหนักจะนำส่งโรงพยาบาลที่อินเดีย เพื่อให้เข้ารับการรักษา หากต้องการเดินทางกลับประเทศไทยก่อนกำหนด สามารถทำได้โดยคิดค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง ณ ขณะนั้น
|
|
ขั้นตอนง่ายๆในการจองทริปกับเรา |
|
1 |
2 |
3 |
4 |
คลิกเพื่อจองทริป |
คลิกตรวจรายชื่อ |
คลิกเพื่อโอนเงิน |
คลิกเพื่อส่งเอกสาร |
|
|
|
|
|
|
|
|
เตรียมตัวเดินทาง |
บริการจากทัวร์ |
|
|
|
|
|
คลิก..เพื่อดูโปรแกรมการเดินทาง
หรือ ขอโปรแกรมได้ที่ คุณนุ้ย 0816928233
หรือ แจ้งทาง LINE ID : @wanramtang |
|
|
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ |
|
ที่อยู่ |
|
|
บ้านวันแรมทาง
1/60 ซ.อนามัยงามเจริญ 12 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ 10150
|
โทรศัพท์ |
024054561 |
มือถือ - ปลา |
0898119139 (AIS) |
มือถือ - นุ้ย |
0816928233 (DTAC) |
Email |
wanramtang@hotmail.com |
Line Official ID |
@wanramtang |
|
|
วันทำงาน |
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-18.00 น.
|
วันเสาร์ เวลา 09.00-12.00 น. |
นอกเวลางาน งดการติดต่อทุกเรื่อง |
ถ้าไม่รับสายหรือโทรไม่ติด กรุณาติดต่อทาง Line |
|
|
หรือติดต่อผ่านระบบอัตโนมัติ ด้านล่างนี้ |
|